เรื่อง

การแข่งขันทักษะการบริการ ลูกค้าโตโยต้า ครั้งที่ 45 ประจำปี 2566

ขอแสดงความยินดีกับทีมโตโยต้า กรุงไทย ที่ผ่านรอบคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทั้ง 6 ประเภทการแข่งขัน 

ในการแข่งขันทักษะการบริการ ลูกค้าโตโยต้า ครั้งที่ 45 ประจำปี 2566

  1. คุณ อนุสรณ์  ซาเฮาะ ประเภท ช่างเทคนิค ระดับสูง
  2. คุณ นฤกวิน ทวีสุข ประเภท ช่างเทคนิค พื้นฐาน
  3. คุณ ทัชชกร วรรณาสูตร์ ประเภท ผู้บริหารงานบริการ
  4. คุณ นันทพร ไทยงามศิลป์ ประเภท พนักงานลูกค้าสัมพันธ์
  5. คุณ ปวิตรา คล้ายพาลี ประเภท พนักงาน Call Center
  6. คุณ สิทธิพงษ์ อ่อนพลี ประเภท ผู้บริหารงานตัวถังและสี

☎️ติดต่อโตโยต้า กรุงไทย
📱Call Center : 02-510-9999

💚Line : @toyotakrungthai (มี@ข้างหน้า) หรือ Click :

💙Facebook : โตโยต้า กรุงไทย Toyota Krungthai หรือ Click :

 

เลือกแบบไหนดีระหว่าง ซ่อมศูนย์กับซ่อมอู่

การใช้งานรถยนต์เมื่อถึงเวลาเสื่อมอายุการใช้งาน จำเป็นต้องเอารถเข้าซ่อม แต่จะเลือกซ่อมศูนย์หรือซ่อมอู่ ก็ต้องพิจารณาจากความสะดวกและความต้องการของเจ้าของรถ

การซ่อมทั้งสองแบบต่างกันอย่างไร แบบไหนคุ้มกว่า มีเทคนิคดีๆในการเลือกมาฝาก

การซ่อมศูนย์

การซ่อมศูนย์คือการนำรถเข้าไปซ่อมที่ศูนย์บริการของรถยี่ห้อนั้นๆ โดยช่างซ่อมที่เป็นมืออาชีพผ่านการรับรองมาตรฐานจากทางศูนย์บริการแล้ว หากต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ก็มั่นใจได้ว่าอะไหล่ที่ใช้จะเป็นอะไหล่แท้ของรถยนต์ยี่ห้อนั้น จึงช่วยเพิ่มความมั่นใจในมาตรฐานทั้งด้านการบริการและคุณภาพของอะไหล่ที่จะได้รับ และการซ่อมศูนย์ยังรับประกันงานซ่อมในระยะเวลาที่เหมาะสมด้วย โดยสามารถนำมาเข้าศูนย์บริการได้ทันทีหากเกิดปัญหาในภายหลัง 

การซ่อมอู่

การนำรถเข้าซ่อมตามอู่ซ่อมรถทั่วไป อาจเป็นอู่ใกล้บ้าน อู่ที่คุ้นเคยหรือแนะนำกันมา การซ่อมอู่แตกต่างจากการซ่อมศูนย์คือเรื่องมาตรฐานการซ่อม ดังนั้นหากไม่ใช่อู่ที่เคยใช้บริการเป็นประจำ หรืออู่ที่มีช่างมีฝีมือก็อาจเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ เช่น การซ่อมที่ไม่ได้มาตรฐานหรืออะไหล่ไม่มีคุณภาพ รวมไปถึงการรับประกันหลังซ่อมยังสั้นกว่าศูนย์บริการของรถยี่ห้อนั้นๆ

สำหรับผู้ที่ต้องการนำรถไปรับบริการที่อู่รถยนต์ต่าง ๆ อย่าลืมสังเกตด้วยว่าเป็นอู่ประเภทใด 

– อู่ในเครือประกัน คืออู่ซ่อมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริษัทประกันที่ได้ทำประกันไว้ หากมีปัญหาสามารถนำมาซ่อมที่อู่ได้เลย

– อู่นอกเครือประกัน คืออู่ซ่อมรถทั่วไปที่ไม่ได้รับรองโดยบริษัทประกัน สามารถนำรถไปซ่อมได้แต่ต้องสำรองจ่ายก่อน และส่งเรื่องเคลมประกันทีหลัง

แม้ว่าการซ่อมอู่มีความรวดเร็วกว่าการซ่อมศูนย์ มีตัวเลือกเยอะสามารถเลือกอู่ที่ต้องการได้ในทุกพื้นที่ แต่ต้องเช็กให้ดีในเรื่องของคุณภาพอะไหล่และการบริการด้วย ซึ่งต่างจากศูนย์บริการที่มีมาตรฐานเดียวกันในทุกสาขา

ดังนั้นหากต้องเลือกว่าจะซ่อมศูนย์หรือซ่อมอู่ดีกว่ากัน ก็อาจต้องพิจารณาจากสถานการณ์ในตอนนั้นว่าเลือกซ่อมที่ไหนจะสะดวกและรวดเร็วที่สุด ได้รถกลับมาใช้ในชีวิตประจำวันเร็วที่สุด หากต้องใช้บริการซ่อมอู่ ควรเลือกอู่ที่มีประวัติเชื่อถือได้ รู้จักกันดี หรือผ่านการรับรองจากบริษัทประกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจได้อีกระดับหนึ่ง

เช็กได้อย่างไรว่าต้องเปลี่ยน บูชคันเกียร์

บูชคันเกียร์ คือตัวช่วยล็อกให้เกียร์อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ หากบูชเกียร์หลวม หรือแตก จะทำให้เข้าเกียร์ยาก วิธีสังเกตคือ เกียร์มีอาการหลวม โยกไปมาได้มากกว่าปกติ ไฟแสดงตำแหน่งเกียร์ที่หน้าปัด เริ่มมีการคลาดเคลื่อน บูชคันเกียร์เสื่อมสภาพจะทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งอื่นได้ หรือเกิดอาการเกียร์หลุด สำหรับอาการเกียร์หลุดในเกียร์อัตโนมัติเกียร์จะค้างที่เกียร์ถอยหลัง แม้จะเปลี่ยนเกียร์แต่รถก็ยังถอยหลัง ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดา ส่วนใหญ่จะหลุดจากเกียร์ที่ขับไปยังตำแหน่งเกียร์ว่าง ต้องรีบนำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็คทันที

 

เทคนิคขับรถลงเขาอย่างปลอดภัย ผ้าเบรกไม่ไหม้

การขับรถลงเขา หรือทางลาดชันยาวๆ การใช้เบรกเพื่อประคองความเร็วเพียงอย่างเดียว อาจเสี่ยงต่ออาการผ้าเบรกร้อนจัดจนละลาย และขาดความฝืด เบรกแตกจนควบคุมรถไม่อยู่และเกิดอุบัติเหตุได้ ห้าม “แช่เบรก” ตลอดเวลา

เทคนิคการเบรกขณะลงเขาคือ

  1. ใช้เกียร์ต่ำสุดที่ทำได้

– รถเกียร์อัตโนมัติ ใช้ตำแหน่งเกียร์ D2, D1, S, L  

– รถเกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ต่ำ เช่น เกียร์ 1, เกียร์ 2  

– รถเกียร์ CVT ใช้ตำแหน่งเกียร์ S, B

– รถไฮบริดใช้ตำแหน่งเกียร์ B

เพื่อช่วยชะลอรถหรือที่เรียก Engine Brake ลดการทำงานของเบรกลงไม่ให้ร้อนเกินไป

เน้นให้เครื่องยนต์ช่วยเบรกเป็นหลัก แต่ต้องไม่ให้รอบเครื่องยนต์ถึงแถบแดง

“ห้าม” ใส่เกียร์ว่าง (เกียร์N) เป็นอันขาด เพราะรถจะไหลลงเขาด้วยความเร็วสูง เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ ให้แตะเบาๆเป็นจังหวะ อย่าเหยียบเบรกค้างไว้ แต่ให้ปรับตำแหน่งเกียร์ตามความชันแทน รักษาระดับความเร็วให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้

     2. เบรกแรงตั้งแต่แรก

หารใช้เกียร์ต่ำแล้วรถยังไหลเร็ว ให้เหยียบเบรกให้แรงพอตั้งแต่แรกจนความเร็วลดลง แล้วจึงปล่อยเบรกให้รถเพิ่มความเร็วสลับไปเรื่อยๆ

     3. เพิ่มโหลดให้เครื่องยนต์

สามารถเพิ่มโหลดเครื่องยนต์ด้วยการใช้คอมเพรสเซอร์ “แอร์” และอัลเทอร์เนเตอร์ช่วยเบรกได้ ด้วยการเปิดแอร์ และปรับค่าอุณหภูมิให้เย็นที่สุด เปิดกระจกหน้าต่างทุกบาน และเปิดไฟหน้า ทำแบบนี้รถจะแล่นช้าลงจนรู้สึกได้

 

จานเบรกขึ้นสนิม มีสาเหตุจากอะไร เป็นอันตรายหรือไม่?

ปัญหาจานเบรกขึ้นสนิม เกิดจากน้ำหรือความชื้น มักเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งหลังจากล้างรถหรือจอดรถไว้ในวันฝนตก ทำให้มีน้ำจับที่ผิวของจานเบรก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติไม่ส่งผลต่อการใช้งาน ไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้จานเบรกเสื่อมหรือหมดอายุการใช้งานและจะทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด 

สนิมที่เกิดขึ้นเรียกว่าสนิมแดง มีการกัดกร่อนน้อยมาก จานเบรกทำจากเหล็กหนาดังนั้นการกัดกร่อนจากเบรกแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย

วิธีแก้ปัญหาจานเบรกขึ้นสนิมง่ายๆเลยคือขับรถบ่อยๆ การใช้งานอยู่เสมอก็เหมือนการขัดสนิมออกจากจานเบรกไปในตัว ทุกครั้งที่มีการเหยียบเบรก ผ้าเบรกจะทำหน้าที่กำจัดสนิมเหล่านี้ออกไป ทำให้จานเบรกกลับมาสะอาด แรกๆอาจมีเสียงดังเล็กน้อย สักพักก็จะหายไป

ที่สำคัญคือ ไม่ควรนำสารหรือสเปรย์หล่อลื่นใดๆ มาฉีดบนจานเบรกเด็ดขาด จะทำให้เบรกลื่น ประสิทธิภาพการเบรกลดลง อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้