เรื่อง

สัญญาณไฟหน้าปัดรถยนต์แจ้งเตือน มีความหมายอย่างไร

สัญลักษณ์ไฟแจ้งเตือนที่แสดงเป็นเครื่องหมายต่างๆ บนหน้าปัดรถยนต์ ผู้ขับขี่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพื่อความปลอดภัยของรถ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งสัญลักษณ์ไฟแจ้งเตือนที่แสดงขึ้นมานั้นมีสีที่แตกต่างกัน เมื่อเราบิดสวิตช์กุญแจหนึ่งจังหวะ คือการแสดงเครื่องหมายต่างๆ บนหน้าปัดรถ และเมื่อสตาร์ทรถก็จะเห็นไฟต่างๆแสดงขึ้นมา 

ไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์มี 3 สี

  1. สัญลักษณ์ ไฟสีแดง  หมายถึง อันตราย ต้องหยุดรถและตรวจสอบหาความผิดปกติตามสัญลักษณ์ที่แสดงขึ้นมาทันที
  2. สัญลักษณ์ ไฟสีเหลือง หมายถึง สัญญาณการเตือน แต่รถยังสามารถใช้ได้ปกติ เช่น เตือนน้ำมันใกล้หมด
  3. สัญลักษณ์ ไฟสีเขียว หมายถึง ผู้ขับขี่กำลังใช้ระบบนั้นๆอยู่ เช่น ไฟเลี้ยว แต่บางรุ่นก็มีสีแตกต่างจากนี้ไปบ้าง

สัญลักษณ์ที่พบเจอได้บ่อยในรถทั่วไป บอกอะไรบ้าง และเราควรรู้หากเกิดปัญหาว่าควรแก้ไขอย่างไร 

1. สัญลักษณ์เข็มขัดนิรภัย

   เป็นสัญลักษณ์เตือนก่อนออกรถว่าผู้โดยสารยังไม่คาดเข็มขัด เมื่อคาดแล้วสัญลักษณ์ก็จะหายไป บางรุ่นมีเสียงเตือนด้วย

  2. สัญลักษณ์ถุงลมนิรภัย

    เป็นสัญลักษณ์เตือนว่าถุงลมนิรภัยมีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ ให้รีบเข้าศูนย์ซ่อมทันที แต่ถ้าถุงลมนิรภัยไม่ได้มีปัญหา เมื่อสตาร์ทรถก็จะหายไปเอง

  3. สัญลักษณ์กาน้ำมันเครื่องสีแดง

    แปลว่าระบบน้ำมันเครื่องมีปัญหา ควรนำรถเข้าข้างทาง และเรียกช่างนำรถเข้าศูนย์ซ่อมทันที ห้ามขับต่อเด็ดขาด อาจส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์   

    4. สัญลักษณ์เตือนแบตเตอรี่สีแดง

    สัญลักษณ์นี้ค่อนข้างอันตราย เพราะรถอาจมีความเสียหายได้หลายส่วน ควรหยุดรถและหาศูนย์ซ่อมที่ใกล้ที่สุดทันที ไม่ควรขับต่อ

    5. สัญลักษณ์ไฟ ABS

    ปกติสัญลักษณ์ไฟ ABS จะติดตอนสตาร์ทแล้วดับไป แต่ถ้ายังคงค้างอยู่แปลว่าตัวเบรกมีปัญหา ควรขับช้าๆและหาศูนย์ซ่อม

    6. สัญลักษณ์ไฟเบรกมือ

    เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงเมื่อเราดึงเบรกมือขึ้น เพียงแค่เอาเบรกมือลงก็จะหายไป แต่ถ้าไม่หายไปแสดงว่าอาจมีปัญหาที่่น้ำมันเบรกหรือส่วนอื่นๆก็ได้ 

                   7. สัญลักษณ์ไฟเตือนอุณหภูมิหม้อน้ำรถ

        -อุณหภูมิสีฟ้า ไม่อันตราย เพียงแค่หม้อน้ำรถเย็นเกินไป อาจทำให้สตาร์ทไม่ติด

        -อุณหภูมิสีแดง ถือว่าอันตรายมาก เพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปหม้อน้ำอาจระเบิดได้ ไม่ควรขับต่อ 

     8. สัญลักษณ์เครื่องยนต์สีเหลือง

    เป็นสัญลักษณ์เตือนว่าเครื่องยนต์มีปัญหา ควรรีบเข้าศูนย์ซ่อมเพื่อตรวจสอบ

     9. สัญลักษณ์กาน้ำมันสีเหลือง

    สัญลักษณ์นี้จะแสดงต่อเมื่อระดับน้ำมันเครื่องต่ำ ควรตรวจสอบและเติมน้ำมันเครื่อง หากยังไม่หายไป อาจเป็นเพราะมีการรั่วซึมจากการที่อุปกรณ์เสื่อมสภาพ

     10. สัญลักษณ์ปั้มน้ำมัน

     สัญลักษณ์เตือนว่าน้ำมันกำลังจะหมด ให้รีบหาปั้มเติมน้ำมันด่วน

     11. สัญลักษณ์ไฟตัดหมอก

     เป็นสัญลักษณ์ที่จะแสดงตอนเราเปิดไฟตัดหมอกหน้ารถ

      12. สัญลักษณ์ไฟหรี่

      เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงเมื่อเราเปิดไฟหรี่หน้ารถ

      13. สัญลักษณ์ไฟสูง

      เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงตอนเราเปิดไฟสูงหน้ารถ

สัญลักษณ์ต่างๆมีความสำคัญ อย่างน้อยควรหมั่นดูหน้าปัดว่ามีสัญลักษณ์ที่ผิดปกติแสดงขึ้นมาหรือไม่ เมื่อรู้เราจะได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ทันที ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติกับรถของเรา

TOYOTA เผยยอดขายรถยนต์เดือน พฤษภาคม 2566

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2566 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

Toyota Motor Thailand รายงานการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 

โดยเปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2566 มีปริมาณการขายที่ 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5 % โดยตลาดรถยนต์นั่งยังเดินหน้าต่อเนื่อง เป็นเซกเมนท์สำคัญที่ผลักดันการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์เดือนนี้ด้วยยอดขาย 25,985 คัน เติบโตถึง 29.4% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีการชะลอตัวขายไม่ค่อยดีเท่าที่ควร โดยมีตัวเลขยอดขาย 39,103 คัน ลดลง 12.4% เป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้อของภาคธุรกิจและภาคประชาชน ในขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Eco Car มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนยังมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากเศรษฐกิจ และความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังไม่ดีขึ้น ความไม่จัดเจนทางการเมือง ตลอดจนสถาบันการเงินที่มีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะยังกังวลต่อกำลังซื้อและความสามารถในการผ่อนชำระของผู้บริโภค

สัญญาณเตือนที่แสดงให้รู้ว่า “ท่อไอเสีย”รถยนต์ของเรากำลังจะพัง

“ท่อไอเสีย” เป็นองค์ประกอบเล็กๆแต่มีความสำคัญมาก ถ้าการระบายไอเสียจากเครื่องยนต์ที่ผ่านทางท่อไอเสียมีการทำงานผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ภายในรถอย่างแน่นอน

สัญญาณเตือนบ่งบอก ท่อไอเสียกำลังจะพัง

  1. ท่อไอเสียมีรอยแตก หรือมีสนิมจับ เกิดการชำรุดของท่อไอเสียที่สามารถมองเห็นได้ เมื่อสตาร์ทรถแล้วเห็นควันไม่ได้ออกจากปลายท่อ แต่มีการซึมออกตามกลางท่อ ต้องรีบนำรถเข้าศูนย์ตรวจเช็กทันที
  1. มีเสียงดังครืด..ครืดจากเครื่องยนต์ หากมีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์แบบไม่มีสัญญาณเตือน แสดงว่าท่อไอเสียกำลังมีปัญหา สังเกตได้ง่ายๆหากต้องเปิดเพลงหรือวิทยุดังกว่าเดิมที่เคยฟัง แสดงว่าเครื่องยนต์เริ่มดังเกินไปแล้ว ควรรีบนำรถเข้าเช็กที่ศูนย์บริการ
  1. คันเร่งมีความผิดปกติ หากตอนเหยียบคันเร่งเกิดอาการสั่นของรถที่มากผิดปกติ สันนิษฐานได้ว่ามีบางส่วนของท่อไอเสียเกิดปัญหา ถ้าเป็นเสียงก้องในตอนที่สตาร์ท แสดงว่ามีรอยรั่วที่ใหญ่มากจนได้ยินมาถึงในห้องเครื่อง ต้องรีบนำเข้าศูนย์ตรวจเช็กทันที
  1. เกิดเสียงรั่ว ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเกิดมีเสี่ยงรั่วออกมา หมายความว่าเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา หรือแคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์บนรถกำลังพัง รถสามารถใช้งานได้สักระยะ แต่ก็ควรนำรถเข้าตรวจเช็ก
  1. มีกลิ่นไหม้ในห้องโดยสาร แสดงว่าท่อไอเสียรั่วทำให้ก๊าซอาร์บอนมอนอกไซด์เข้ามาในห้องโดยสาร อาจส่งผลให้เกิดอาการมึนศีรษะ จนถึงขั้นหมดสติและอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
  1. ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์แย่ลง เช่น การเดินทางระยะทางเท่าเดิม ความเร็วเท่าเดิม แต่รถยนต์กินน้ำมันมากขึ้นกว่าปกติ

เมื่อพบปัญหาท่อไอเสียทำงานผิดปกติ ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ก อย่าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ได้

มือใหม่หัดขับต้องเรียนรู้และเตรียมพร้อมเรื่องอะไรบ้าง เมื่อออกสู่ถนนครั้งแรก

มือใหม่หัดขับรถนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุที่ค่อนข้างสูง ขณะที่อยู่บนท้องถนน หากทำอะไรไม่ถูกและเกิดผิดพลาด อาจร้ายแรงถึงชีวิตได้

จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนขับออกถนนจริง 

 

สิ่งที่มือใหม่หัดขับต้องเรียนรู้และเตรียมพร้อมมากเป็นพิเศษ เมื่อออกสู่ถนน

      1. ควรรู้มารยาทบนท้องถนน

มารยาทในการขับขี่สำคัญ เพราะมีส่วนช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และป้องกันการกระทบกระทั่งกันบนท้องถนนได้ เช่น

– เมื่อขับอยู่ทางโท ต้องให้ทางเอกไปก่อน

– ขับช้าควรอยู่ชิดซ้าย

– ถ้าอยู่เลนขวาแล้วมีรถวิ่งเร็วกว่าขับมาควรหลบให้แซง

– เวลาเลี้ยวให้อยู่ในเลนของตัวเองไว้

      2. ไม่ขับจี้ท้ายจนเกินไป

ระยะห่างระหว่างรถคันหน้าสำคัญมาก หากเกิดเหตุการณ์ที่ต้องเบรกกระทันหันขึ้นมา จะได้มั่นใจได้ว่ารถของเราจะไม่ไปกระแทกเข้ากับรถคันหน้า โดยระยะห่างที่ดีที่ควรเว้นไว้จากคันหน้าคือ อย่างน้อย 5 เมตรต่ออัตราเร็ว 10 กม./ชม.  หมายความว่า ถ้าคุณขับที่ความเร็ว 50 กม./ชม. ก็ควรเว้นเอาไว้อย่างน้อย 25 เมตรนั่นเอง แต่ถ้าเป็นช่วงฝนตก ถนนลื่น แนะนำให้เว้นระยะห่างเป็น 2 เท่าจากเดิม เพื่อความปลอดภัย

      3. ถอยหลังต้องคล่อง

การขับรถบนถนนตามปกตินั้นไม่ยาก แต่ที่ยากกว่าคือการถอยหลัง ไม่ว่าจะถอยหลังออกจากซอย ถอยเข้าซอง หรือการถอยเข้าจอด ก็มีหลายคนพลาดเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

       4. ห้ามลืมเปิดไฟเลี้ยว

ต้องเปิดไฟเลี้ยวก่อนที่จะเลี้ยวอย่างน้อย 30 เมตร เป็นสิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจ หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นจากการไม่เปิดไฟเลี้ยว 

       5. มองกระจกให้บ่อย

มือใหม่หลายคนที่ทำการเปลี่ยนเลนขับรถโดยไม่ได้มองกระจกซ้ายขวา และข้างหลังให้ดีก่อนจนเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งการมองกระจกนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญของการขับรถบนท้องถนน ขณะขับรถแนะนำให้มองกระจกบ่อยๆ จนติดเป็นนิสัย จะทำให้ความปลอดภัยในการขับรถเพิ่มมากขึ้น

       6. ต้องระวังมุมอับสายตา

การแก้ปัญหามุมอับสายตาที่ดีที่สุดคือ การเปิดไฟเลี้ยว และขับช้าๆ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าไม่มีรถคันอื่นอยู่ในจุดอับสายตาอย่างแน่นอน หลังจากนั้นจึงค่อยทำการเลี้ยว

       7. ใช้สัญญาณเตือนให้เป็น

การกะพริบไฟสูง, การบีบแตร นั้นเป็นเหมือนการสื่อสารเจรจากันอย่างง่ายๆ บนท้องถนน ซึ่งจะใช้กรณีอย่างเช่น การขอทาง เพื่อเป็นสัญญาณเตือนในมุมอับให้รถอีกคันที่มองไม่เห็นเรา แต่การบีบแตรนั้นมีข้อจำกัดห้ามใช้ในบางสถานที่ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และวัด 

       8. ติดสติกเกอร์มือใหม่หัดขับ

สติกเกอร์มือใหม่หัดขับนั้นเป็นสัญลักษณ์เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่คนอื่นรู้ว่า เราคือมือใหม่ที่ยังขับไม่คล่อง ซึ่งรถคันอื่นจะได้ทิ้งระยะห่างเอาไว้ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

       9. ไม่แนะนำให้ขับรถเวลากลางคืน

ถ้ายังขับรถไม่คล่องแนะนำให้เลี่ยงการขับรถในเวลากลางคืน เพราะรถส่วนใหญ่จะขับกันค่อนข้างเร็ว จึงไม่เหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

       10. การรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ การตั้งสติรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากเพียงเล็กน้อยก็ทำการเรียกประกันภัย หรือถ้ามีผู้บาดเจ็บก็ให้รีบติดต่อเรียกรถพยาบาลทันที

5 เทคนิคง่ายๆช่วยดูแลถนอมช่วงล่างให้หายห่วง

 

ช่วงล่างของรถทำหน้าที่รองรับน้ำหนักการบรรทุก และแรงสั่นสะเทือนเวลาขับขี่ รวมถึงเป็นตัวขับเคลื่อนในหลายๆอุปกรณ์ ให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การบำรุงรักษาช่วงล่างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

ขอแนะนำ 5 เทคนิคง่ายๆที่จะช่วยถนอมช่วงล่างของรถยนต์

  1. ในขณะขับขี่ให้สังเกตุพื้นผิวถนน หากมีความเสียหาย มีหลุม ขรุขระ ควรชะลอความเร็วในการขับขี่ ไม่ควรใช้ความเร็วเกินไป
  2. ไม่บรรทุกของหนักเกินจำเป็น ส่งผลต่อช่วงล่างและกลไกอื่นๆของรถ 
  3. หากต้องขับผ่านเส้นทางที่มีลูกระนาด หรือถนนลูกรัง หากรถบรรทุกหนัก ควรเหยียบเบรกเพื่อชะลอความเร็วก่อนที่จะถึงลูกระนาด และปล่อยเบรกขณะขึ้นลูกระนาด เพื่อลดแรงกระแทกต่อช่วงล่าง
  4. ควรเติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานเหมาะสมกับการใช้งาน หากลมยางแข็งเกินไปช่วงล่างจะรับแรงกระแทกเยอะ แต่หากลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ระบบการบังคับเลี้ยวทำงานหนักกว่าปกติ
  5. เข้าตรวจเช็กสภาพช่วงล่างตามระยะที่แนะนำ เพื่อให้รถพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

หากปฏิบัติตามคำแนะนำก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานช่วงล่างได้ หากพบความผิดปกติเวลาขับขี่ เช่น มีเสียงดังผิดปกติ รถไม่นิ่ง การควบคุมพวงมาลัยไม่เหมือนเดิม เป็นสัญญาณบอกว่าช่วงล่างอาจมีปัญหา ให้รีบนำรถเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการทันที