เรื่อง

5 เทคนิคง่ายๆช่วยดูแลถนอมช่วงล่างให้หายห่วง

 

ช่วงล่างของรถทำหน้าที่รองรับน้ำหนักการบรรทุก และแรงสั่นสะเทือนเวลาขับขี่ รวมถึงเป็นตัวขับเคลื่อนในหลายๆอุปกรณ์ ให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การบำรุงรักษาช่วงล่างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

ขอแนะนำ 5 เทคนิคง่ายๆที่จะช่วยถนอมช่วงล่างของรถยนต์

  1. ในขณะขับขี่ให้สังเกตุพื้นผิวถนน หากมีความเสียหาย มีหลุม ขรุขระ ควรชะลอความเร็วในการขับขี่ ไม่ควรใช้ความเร็วเกินไป
  2. ไม่บรรทุกของหนักเกินจำเป็น ส่งผลต่อช่วงล่างและกลไกอื่นๆของรถ 
  3. หากต้องขับผ่านเส้นทางที่มีลูกระนาด หรือถนนลูกรัง หากรถบรรทุกหนัก ควรเหยียบเบรกเพื่อชะลอความเร็วก่อนที่จะถึงลูกระนาด และปล่อยเบรกขณะขึ้นลูกระนาด เพื่อลดแรงกระแทกต่อช่วงล่าง
  4. ควรเติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานเหมาะสมกับการใช้งาน หากลมยางแข็งเกินไปช่วงล่างจะรับแรงกระแทกเยอะ แต่หากลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ระบบการบังคับเลี้ยวทำงานหนักกว่าปกติ
  5. เข้าตรวจเช็กสภาพช่วงล่างตามระยะที่แนะนำ เพื่อให้รถพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

หากปฏิบัติตามคำแนะนำก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานช่วงล่างได้ หากพบความผิดปกติเวลาขับขี่ เช่น มีเสียงดังผิดปกติ รถไม่นิ่ง การควบคุมพวงมาลัยไม่เหมือนเดิม เป็นสัญญาณบอกว่าช่วงล่างอาจมีปัญหา ให้รีบนำรถเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการทันที

รถเสียบนทางด่วน

รถเสียบนทางด่วน ควรทำอย่างไร

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินรถเสียบนทางด่วน ควรทำอย่างไร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันเราจำเป็นต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางเกือบทุกวันหากเกิดเหตุฉุกเฉินบนทางด่วนไม่ว่าจะด้วยกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือ รถเสีย เราควรทำอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุไม่คาดคิดบนทางด่วนอาจทำให้คุณตกใจไม่น้อยและทำอะไรไม่ถูก สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือตั้งสติอย่าตกใจจนเกินไปแล้วปฏิบัติดังนี้
เปิดไฟฉุกเฉิน นำรถเข้าไหล่ทาง
ในกรณีรถยางแตกห้ามเหยียบเบรคให้รถหยุดในครั้งเดียวโดยเด็ดขาด แต่ให้ค่อยๆแตะเบรคและ ปล่อยไหลประคองรถเข้าข้างทางจนจอดสนิท

– โทรขอความช่วยเหลือที่เบอร์ 1543
หลังจากโทรขอความช่วยเหลือที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) เบอร์ 1543 (สามารถโทรได้ตลอด 24 ชั่วโมง) ควรนั่งอยู่ในรถและคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และควรล็อกประตูไว้ด้วย

– วางเครื่องหมายให้เป็นจุดสังเกต
เพื่อเป็นสัญลักษ์ให้รถคันหลังที่ตามมาทราบจะได้ระวังไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ หากมีกรวยสีส้ม หรือป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง ให้วางไว้ด้านท้ายและด้านหน้าของรถ โดยเว้นระยะห่าง จากรถอย่างน้อย 30-50 เมตร

-เบอร์ที่ควรรู้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินบนทางด่วน
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543

ทางหลวงและมอเตอร์เวย์ โทร.1586

โทลล์เวย์ โทร. 1233

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

โทรฉุกเฉิน

ในกรณีที่โทรศัพท์มือถือเสียหายใช้งานไม่ได้ บนทางด่วนจะมีโทรศัพท์ฉุกเฉินตั้งอยู่ทุกๆ 500–1,000 เมตร
ขอความช่วยเหลือโดยแจ้งสาเหตุ อาการของรถหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงจุดที่นำรถเข้าจอดอย่างละเอียด รวมทั้งหากมีคนป่วยหรือบาดเจ็บ(ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ)ควรแจ้งด้วย และหากต้องการรถลากควรเเจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย

ทำไมต้องสลับยางรถยนต์

การสลับยาง ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ยืดอายุการใช้งานของยางได้จริงหรือ?

การสลับยางรถยนต์ นอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของยางแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ยางรถยนต์ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญมากๆต่อความปลอดภัยในการขับขี่ อาจเกิดอันตรายได้หากยางเสื่อมสภาพหรือมีปัญหา การสลับยางรถยนต์จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะยืดอายุการใช้งานของยางได้และเพิ่มความสมดุลของหน้ายางอีกด้วย
สลับยาง

ทำไมต้องสลับยางรถยนต์

เพราะยางทั้ง 4 เส้น ทำหน้าที่หนักเบาต่างกันไป จึงทำให้ยางนั้นสึกไม่เท่ากัน ยางที่ใช้งานแล้วมีอัตราการสึกเยอะที่สุดคือตำแหน่งของเพลาขับ เพราะเวลาที่รถออกตัวนั้นยางจะถูกแรงบดที่หน้ายางจึงทำให้หน้ายางสึกหรอดอกยางหาย มากกว่าเพลาตาม ซึ่งหากเราไม่สลับยาง ยางในเพลาขับอาจจะหมดดอกเร็วกว่า ในเพลาตามและอาจจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายได้ ทั้งนี้การสลับยางยังช่วยประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย เพราะจากที่ต้องเปลี่ยนยางทั้ง4เส้นก็เปลี่ยนมาเป็นการสลับยางเพื่อยืดอายุการใช้งานได้อีกด้วย

แนะนำว่าควรสลับยางทุก 10,000 กิโลเมตร เพื่อความปลอดภัยของรถและตัวท่านเอง ควรนำรถเข้าเช็คระยะและสลับยางถ่วงล้อที่ศูนย์บริการรถยนต์เป็นประจำตามระยะที่กำหนดกันด้วยนะครับ

 

กุญแจรีโมทรถยนต์

เมื่อกุญแจรีโมทรถไม่ทำงาน แก้ปัญหาได้อย่างไร

เมื่อรีโมทรถไม่ทำงาน แก้ปัญหาได้อย่างไร

รถยนต์รุ่นใหม่ๆในปัจจุบันเกือบทั้งหมดหันมาใช้กุญแจรีโมท เพื่อความสะดวกสบายและปลอดภัย  รวมถึงมีฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่หากกุญแจรีโมทเกิดปัญหา หรือ มีปัญหาในการใช้งานจะทำอย่างไร

กุญแจรีโมท

สาหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับกุญแจรีโมท และ วิธีแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

1.รีโมทกดไม่ติด ไม่มีสัญญาณตอบรับ
หากรีโมทเกิดใช้งานไม่ได้ กดไม่ติดไม่มีเสียงหรือไม่มีสัญญาณไฟ อาจเกิดจากแบตเตอรี่อ่อนหรือแบตหมดให้ตรวจเช็คแบตเตอรี่ก่อน แก้ไขเบื้องต้นโดยการจั๊มป์แบตเตอรี่กับรถคันอื่น

2. กดรีโมทมีเสียงสัญญาณดัง แต่ไฟเลี้ยวไม่กระพริบ
หากกดรีโมทแล้วมีเสียงสัญญาณปกติแต่ไฟเลี้ยวไม่กระพริบและสตาร์ทรถไม่ได้ อาจเกิดจากถ่านรีโมทหมด แก้ด้วยการเปลี่ยนถ่านรีโมท บิดกุญแจไปที่สวิตช์ ON และกดรีเซ็ตค้างไว้ จนสัญญาณกันขโมยหยุดร้อง

3. กดรีโมทแล้วไฟเลี้ยวกระพริบ แต่สตาร์ทรถไม่ติด
สาเหตุนี้อาจเกิดจากเครื่องยนต์มีปัญหา แก้ไขด้วยการนำรถเข้าเช็กเครื่องยนต์ใหม่ก่อนสตาร์ทอีกครั้ง

4.กดรีโมทแล้วไฟเลี้ยวกระพริบแต่ประตูไม่ปลดล็อก
สาเหตุนี้ อาจเกิดจากมอเตอร์ที่ควบคุมการเปิด ปิดประตูมีปัญหา แนะนำให้นำรถเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการโดยตรง

5. กดรีโมทล็อกรถแล้วสัญญาณกันขโมยยังดังอยู่
อาจเกิดจากปิดประตูไม่สนิท แก้ไขง่ายๆด้วยการตรวจดูประตูทุกบานและปิดให้สนิท ก่อนกดล็อกด้วยรีโมท

สิ่งที่ทำให้กุญแจรีโมททำงานผิดปกติหรือมีปัญหา ส่วนมากมี 2 สาเหตุหลัก ๆ คือเกิดจากตัวเครื่องยนต์หรือเกิดจากตัวรีโมทรถ หากเกิดปัญหาจึงต้องเช็กทั้งที่ตัวเครื่องยนต์ และตรวจสอบดูว่ารีโมทรถถ่านหมดหรือเกิดขัดข้องหรือไม่

วิธีดูแลเกียร์ออโต้ ให้ใช้งานได้ยาวนาน

วิธีการดูแลเกียร์ออโต้ให้ใช้งานได้ยาวนาน

วิธีดูแลเกียร์ออโต้ ให้ใช้งานได้ยาวนาน

วิธีการดูแลเกียร์ออโต้ให้ใช้งานได้ยาวนาน

เกียร์ออโต้หรือเกียร์อัตโนมัติเป็นชิ้นส่วนหลักในการขับเคลื่อนของรถ แถมยังเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาสูงมากหากจำเป็นต้องซ่อมหรือเปลี่ยน

ขอแนะนำ 5 วิธีถนอมเกียร์ออโต้ให้ใช้งานได้ยาวนาน

  1. ไม่คิกดาวน์บ่อยจนเกินไป

การคิกดาวน์ (Kickdown) คือ การเหยียบแป้นคันเร่งให้ลึกกว่าปกติเพื่อเพิ่มความเร็ว ตำแหน่งเกียร์จะถูกปรับลงมา 1-2 จังหวะตามน้ำหนักเท้าที่กดลงไป การคิกดาวน์บ่อย ๆ จะมีผลทำให้ชุดเกียร์สึกหรอเร็วกว่าปกติ เพราะชุดเกียร์ต้องรับแรงบิดที่เพิ่มขึ้นกะทันหันอยู่บ่อยครั้ง การขับขี่ปกติควรค่อย ๆ เพิ่มความเร็วขึ้นไปจะดีกว่า

  1. จอดทางลาดใช้เบรกมือช่วย

การจอดรถบนทางลาดชัน คนส่วนใหญ่มักใช้วิธีใส่เกียร์ P เพื่อป้องกันรถไหลเพียงอย่างเดียว แต่ทางที่ดีควรใช้เบรกมือควบคู่กันไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สลักเกียร์ต้องแบกรับน้ำหนักตัวรถมากจนเกินไป ส่วนวิธีจอดรถบนทางลาดชันหลังจากจอดรถเสร็จอย่าเพิ่งใส่เกียร์ P ทันที ระหว่างเหยียบเบรกให้ดึงเบรกมือขึ้นจนสุดค่อยๆปล่อยเท้าออกจากแป้นเบรก จากนั้นค่อยผลักตำแหน่งเกียร์ไปยังP วิธีนี้จะทำให้เบรกเป็นตัวรับภาระน้ำหนักรถแทน และหลังจากที่สตาร์ทรถเพื่อขับออกไปนั้น ให้ปลดเกียร์ออกจากตำแหน่งเกียร์ P ก่อน (จะใส่เกียร์ R N หรือ D ก็ตามแต่) แล้วจึงปลดเบรกมือ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยป้องกันความเสียหายกับชุดเกียร์ได้

  1. ไม่ปล่อยเกียร์ว่างขณะรถวิ่ง

ห้ามใช้วิธีผลักไปเกียร์ว่างแล้วปล่อยให้รถไหลเวลาใกล้ถึงไฟแดงเด็ดขาด เพราะทันทีที่เข้าเกียร์ N จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการหล่อลื่น และทำให้เกียร์เกิดความเสียหายได้เร็วขึ้นนั่นเอง

  1. เปลี่ยนเกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็ว

เกียร์ออโต้จะมีตำแหน่งเกียร์ให้ผู้ขับขี่สามารถปรับอัตราทดเองได้ ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม +, – หรือตำแหน่ง 3, 2, L (แตกต่างกันไปตามรุ่นรถ) ซึ่งตำแหน่งเกียร์ D ปกติก็สามารถครอบคลุมการใช้งานในชีวิตประจำวันแล้ว ไม่ควรปรับเกียร์เป็นตำแหน่งอื่นบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น นอกเสียจากต้องการเร่งแซงหรือใช้แรงเบรกจากเครื่องยนต์

  1. อย่าละเลยการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์

น้ำมันเกียร์เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยหล่อลื่นและปกป้องชุดเกียร์ เมื่อใช้ไปนาน ๆ เข้า ก็จะเกิดความเสื่อมสภาพ อาจมีเศษตะกอนค้างอยู่ในอ่างน้ำมันเกียร์ ซึ่งเกิดจากการเสียดสีเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามกำหนดที่ระบุไว้ในคู่มือ

  1. นำรถเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการตามกำหนด

เพื่อให้เกียร์และรถได้รับการตรวจเช็กการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยตรวจสอบความผิดปกติจากการใช้งานได้อย่างละเอียดกว่าการดูแลตามปกติ