แหล่งรวบรวมอัพเดทเรื่องราว สาระความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ ข่าวสาร เคล็ดลับยานยนต์ คลิปวิดีโอรีวิวรถยนต์โตโยต้า เทคนิคยานยนต์ เทคโนโลยีในรถยนต์โตโยต้า รีวิวรถโตโยต้า และเกล็ดความรู้ต่างๆจาก โชว์รูม – ศูนย์บริการมาตรฐานโตโยต้า กรุงไทย

กุญแจรีโมทรถยนต์

เมื่อกุญแจรีโมทรถไม่ทำงาน แก้ปัญหาได้อย่างไร

เมื่อรีโมทรถไม่ทำงาน แก้ปัญหาได้อย่างไร

รถยนต์รุ่นใหม่ๆในปัจจุบันเกือบทั้งหมดหันมาใช้กุญแจรีโมท เพื่อความสะดวกสบายและปลอดภัย  รวมถึงมีฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่หากกุญแจรีโมทเกิดปัญหา หรือ มีปัญหาในการใช้งานจะทำอย่างไร

กุญแจรีโมท

สาหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับกุญแจรีโมท และ วิธีแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

1.รีโมทกดไม่ติด ไม่มีสัญญาณตอบรับ
หากรีโมทเกิดใช้งานไม่ได้ กดไม่ติดไม่มีเสียงหรือไม่มีสัญญาณไฟ อาจเกิดจากแบตเตอรี่อ่อนหรือแบตหมดให้ตรวจเช็คแบตเตอรี่ก่อน แก้ไขเบื้องต้นโดยการจั๊มป์แบตเตอรี่กับรถคันอื่น

2. กดรีโมทมีเสียงสัญญาณดัง แต่ไฟเลี้ยวไม่กระพริบ
หากกดรีโมทแล้วมีเสียงสัญญาณปกติแต่ไฟเลี้ยวไม่กระพริบและสตาร์ทรถไม่ได้ อาจเกิดจากถ่านรีโมทหมด แก้ด้วยการเปลี่ยนถ่านรีโมท บิดกุญแจไปที่สวิตช์ ON และกดรีเซ็ตค้างไว้ จนสัญญาณกันขโมยหยุดร้อง

3. กดรีโมทแล้วไฟเลี้ยวกระพริบ แต่สตาร์ทรถไม่ติด
สาเหตุนี้อาจเกิดจากเครื่องยนต์มีปัญหา แก้ไขด้วยการนำรถเข้าเช็กเครื่องยนต์ใหม่ก่อนสตาร์ทอีกครั้ง

4.กดรีโมทแล้วไฟเลี้ยวกระพริบแต่ประตูไม่ปลดล็อก
สาเหตุนี้ อาจเกิดจากมอเตอร์ที่ควบคุมการเปิด ปิดประตูมีปัญหา แนะนำให้นำรถเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการโดยตรง

5. กดรีโมทล็อกรถแล้วสัญญาณกันขโมยยังดังอยู่
อาจเกิดจากปิดประตูไม่สนิท แก้ไขง่ายๆด้วยการตรวจดูประตูทุกบานและปิดให้สนิท ก่อนกดล็อกด้วยรีโมท

สิ่งที่ทำให้กุญแจรีโมททำงานผิดปกติหรือมีปัญหา ส่วนมากมี 2 สาเหตุหลัก ๆ คือเกิดจากตัวเครื่องยนต์หรือเกิดจากตัวรีโมทรถ หากเกิดปัญหาจึงต้องเช็กทั้งที่ตัวเครื่องยนต์ และตรวจสอบดูว่ารีโมทรถถ่านหมดหรือเกิดขัดข้องหรือไม่

โช้คอัพรถยนต์

อาการบ่งบอกโช้คอัพเริ่มมีปัญหา

อาการที่บ่งบอกว่าโช้คอัพเริ่มมีปัญหามีอะไรบ้าง

โช้คอัพ

“โช้คอัพ” อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยรองรับแรงกระแทก มีหน้าที่ช่วยควบคุมการดีดตัวของสปริง-แหนบ ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ที่ต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

  1. มีคราบน้ำมันบริเวณซีลโช้ค
    ใช้กระดาษทิชชู่มาลองเช็ดดู หากมีคราบน้ำมันก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าซีลโช้คอาจรั่วอยู่

    2. หากลองกดหน้ารถให้ยุบตัว ให้สังเกตว่าตัวรถเด้งๆขึ้นลงเร็วๆติดกันหรือไม่ หากรถมีอาการเด้งขึ้นลงติดๆกันแสดงว่าโช้คเสื่อมสภาพแล้ว

    3. ถ้ารูปทรงของโช้คผิดไปจากเดิมหรือเรียกว่า โช้คคด
    จะทำตัวโช้คทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพซึ่งส่งผลในการขับขี่

    4. สังเกตเวลาขับรถเข้าโค้งหรือขึ้นลูกระนาด
    หากรถมีอาการโยนหรือเหวี่ยงมากแสดงว่าโช้คไม่มีการซับแรงที่ดีแล้

    5. เมื่อรถผ่านทางขรุขระหรือตกหลุม
    สังเกตโดยการฟังเสียงจากโช้ค หากโช้คไม่มีการซับแรงที่ดีจะมีเสียงกระแทกดังมากบางทีอาจรับรู้ได้จากแรงสะท้านบนพวงมาลัยเลย

    ***อย่าลืมไปเช็กโช้คอัพของรถที่รักกันนะคะ โช้คอัพเมื่อใช้งานไปนานๆย่อมเสื่อมสภาพ เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงกระแทกและน้ำหนักตลอดเวลา

 

รถเร่งไม่ขึ้นเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่เหยียบคันเร่งแล้วรถไม่พุ่ง เร่งไม่ขึ้นเพราะอะไร

อาการเครื่องอืด ออกตัวไม่แรง เหยียบคันเร่งไม่ขึ้น  อาการแบบนี้อาจบอกได้ว่าภายในเครื่องยนต์ผิดปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุเป็นเพราะการละเลยไม่ดูแลเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

รถเร่งไม่ขึ้น

สาเหตุที่เหยียบคันเร่งไม่ขึ้น เกิดจาก

  1. กรองอากาศ
    กรองอากาศสกปรกอุดตัน ทำให้เครื่องยนต์ดูดอากาศไม่เต็มที่ นอกจากอัตราเร่งตกแล้ว ยังสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงอีกด้วย จึงควรเปลี่ยนกรองอากาศทุก ๆ ระยะทาง 20,000 หรือ ระยะเวลา ไม่เกิน 12 เดือน

    2. หัวเทียน
    หน้าที่ของหัวเทียน คือ จุดระเบิดเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง หากหัวเทียนสึกหรอหรือมีปัญหาก็ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รถเหยียบเร่งไม่ขึ้น ทั้งยังทำให้รถกินน้ำมันอีกต่างหาก

    3. คอยล์จุดระเบิด
    คอยล์จะเป็นตัวกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงส่งไปยังหัวเทียน เพื่อใช้ในการเผาไหม้เชื้อเพลิง เมื่อไรที่คอยล์เสื่อมก็ทำให้ผลิตแรงดันไฟไม่เพียงพอในการทำงาน

    4. กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
    เมื่อไรที่กรองน้ำมันมีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน ก็ทำให้เกิดอาการสะดุด เครื่องเดินไม่นิ่ง เหยียบคันเร่งไม่ขึ้น ควรเปลี่ยนทุก ๆ ระยะ 40,000 กิโลเมตร

    5. น้ำมันเครื่อง
    หากไม่เปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้น้ำมันเครื่องมีสิ่งสกปรก ส่งผลทำให้รถอืดและเกิดการสึกหรอสูงขึ้น ควรเปลี่ยนทุก ๆ ระยะ 10,000 กิโลเมตร หรือ ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

    ***เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อน ๆ ควรหมั่นตรวจเช็กเครื่องยนต์ และนำรถเข้าเช็กตามระยะอย่างสม่ำเสมอนะคะ***

 

แอร์รถยนต์

ปิดแอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยดูแลแอร์?

ปิดแอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยดูแลแอร์?

รถเก่าที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป ควรทำการ ปิดแอร์ ก่อนการดับเครื่องยนต์ เพื่อเป็นการถนอม ยืดระยะการใช้งานของแอร์ แต่สำหรับรถรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องปิดแอร์ก่อนดับเครื่อง เพราะอะไรไปดูกัน

ปิดแอร์ก่อนดับเครื่อง

รถเก่าที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป ควรทำการ ปิดแอร์ ก่อนการดับเครื่องยนต์ เพื่อเป็นการถนอม ยืดระยะการใช้งานของแอร์ แต่สำหรับรถรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องปิดแอร์ก่อนดับเครื่อง เพราะอะไรไปดูกันไม่ได้มีผลหรือไม่จำเป็นต้องปิดแอร์ก่อนดับเครื่องยนต์ เพราะรถยนต์รุ่นใหม่ๆมีระบบตัดกระแสไฟ ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ระบบจะทำการตัดกระแสไฟที่ไปเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มอเตอร์สตาร์ตทำงานเพื่อให้กระแสไฟไปที่มอเตอร์สตาร์ตได้มากที่สุดในระหว่างการสตาร์ตรถ
ทำให้ไม่เกิดไฟกระชากหรือสร้างความเสียหายให้กับคอมเพรสเซอร์แอร์หรือเครื่องยนต์ แต่ควรกดปุ่ม A/C ก่อนถึงจุดหมายหรือก่อนดับเครื่องยนต์ ประมาณ 3-5 นาที เพื่อไล่ความชื้นออกจากระบบแอร์ ป้องกันการเกิดกลิ่นอับ เชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ

ปุ่ม A/C

สรุปง่ายๆ การปิดแอร์ก่อนดับเครื่องยนต์  ควรทำในรถที่อายุการใช้งาน20ปีขึ้นไป(รถรุ่นเก่า) แต่ไม่จำเป็นสำหรับรถรุ่นใหม่ๆ

ถุงลมนิรภัย-ถุงลม-ทำงานอย่างไร-แอร์แบ็ค

ถุงลมนิรภัย (Airbag) ทำงานอย่างไร

ถุงลมนิรภัย (Airbag) ถูกออกแบบมาเพื่อลดอาการบาดเจ็บช่วงศีรษะและคอจากการชนกระแทกกับพวงมาลัย และการเหวี่ยงไปข้างหน้าและหลังอย่างรวดเร็ว

ถุงลมนิรภัย-ถุงลม-ทำงานอย่างไร-แอร์แบ็ค

การทำงานของถุงลมนิรภัย (Airbag)

มีการทำงาน 2 ขั้นตอน คือ

  1. ในจังหวะแรก Airbag จะพองตัวแค่ 30% เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารกระแทกกับ Airbag แล้วเหวี่ยงกลับไปชนกับพนักที่นั่งอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณคอ
  2. จากนั้นจะพองตัว 100% ภายในเสี้ยววินาที เพื่อไม่ให้ตัวของผู้โดยสารไปกระแทกกับของแข็งอื่น ๆ ในห้องโดยสาร

การทำงานของ Airbag ยังสอดคล้องกับการคาดเข็มขัดนิรภัยด้วย โดยหากไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย Airbag ก็จะไม่ทำงาน

เซ็นเซอร์ Airbag จะถูกติดตั้งไว้รอบ ๆ รถ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการทำงานของ Airbag ในแต่ละจุด (ขึ้นอยู่กับสเปคของรถแต่ละรุ่น) เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เซ็นเซอร์จุดที่โดนกระทบจะทำให้ Airbag ส่วนนั้นทำงานหากมีผู้โดยสารนั่งอยู่ที่ตำแหน่งนั้น

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามนำสิ่งของทุกชนิดวางปิดช่อง Airbag เด็ดขาด
  2. สำหรับรถที่มีเด็กเล็ก ไม่ควรติดตั้งคาร์ซีทที่เบาะโดยสารตอนหน้า เพราะนั่นอาจทำให้เด็กได้รับแรงกระแทกจากการทำงานของ Airbag ได้