เคล็ดลับยานยนต์ คลิปวิดีโอ รีวิวรถโตโยต้า ข่าวอัพเดทโตโยต้า เทคนิคยานยนต์ ประกันภัยรถยนต์ และ รอบรู้เรื่องรถอื่นๆ รวมถึงโปรโมชั่นรถใหม่ป้ายแดง

อะไหล่รถที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด มีอะไรบ้าง

การดูแลรักษารถยนต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆในรถยนต์นั้น มีการสึกหรอตามการใช้งานของมัน มาดูกันว่ามีอะไหล่ส่วนใดบ้างที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด

10 อะไหล่ในรถยนต์ ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด มีอะไรบ้าง

  1. น้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่อง 

น้ำมันเครื่องเป็นปัจจัยหลักในการหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดทุกครั้ง หรือหากพบว่าน้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท นั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่าน้ำมันเครื่องหมดอายุ  ให้ทำการเปลี่ยนก่อนกำหนดได้เลย

ระยะเวลาที่เราควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนั้นก็อยู่ที่ ทุกๆ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำมันเครื่อง

  1. ผ้าเบรก 

ผ้าเบรกคือชิ้นส่วนหลักที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของรถ ควรมีการตรวจเช็คทุกๆ 10,000 กิโลเมตร หากผ้าเบรกใกล้หมดจะมีเสียงดังเอี๊ยดเกิดขึ้นขณะเหยียบเบรก หากผ้าเบรกหมดและไม่แก้ไข อาจก่อให้เกิดอันตรายได้

  1. แบตเตอรี่

แบตเตอรี่มีทั้งแบบแห้งและเปียก ซึ่งแบบแห้งก็จะไม่ต้องดูแลรักษาใดๆตลอดอายุการใช้งาน แต่แบบเปียก จำเป็นต้องมีการเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับอยู่เสมอ 

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 2-3 ปีแล้วแต่การใช้งาน แบตเปียกควรเช็คน้ำกลั่นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  1. ไส้กรองอากาศ 

ไส้กรองอากาศเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการกรองสิ่งสกปรกในอากาศก่อนเข้าไปยังเครื่องยนต์ ซึ่งหากว่ามีสิ่งสกปรกอุดตันเป็นจำนวนมากก็จะทำให้การเผาไหม้นั้นไม่สมบูรณ์ ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ก็จะลดลง

ระยะเวลาในการเปลี่ยนไส้กรองอากาศนั้นอยู่ที่ระยะเวลา 1 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร และควรจะเป่าทำความสะอาดทุกๆ 3,000 – 5,000 กิโลเมตร

  1. น้ำมันเกียร์ และไส้กรองน้ำมันเกียร์

ระบบเกียร์มีชิ้นส่วนประกอบที่เป็นโลหะเข้าด้วยกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบทั่วไป แบบ CVT หรือแบบ Dual-clutch ซึ่งระบบเกียร์นั้นจะมีการเคลื่อนที่ภายในตลอดเวลา จึงมีอัตราการสึกหรอสูง น้ำมันเกียร์เป็นสิ่งสำคัญในการลดการสึกหรอดังกล่าว

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 20,000 – 40,000 กิโลเมตรแล้วแต่รุ่นรถ

  1. ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

ชิ้นส่วนนี้จะสามารถพบได้ทั้งรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรกต่างๆ และน้ำที่มาพร้อมกับน้ำมันที่เราเติมตามปั๊ม หากไส้กรองตันและปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป จนแรงดันน้ำมันไปยังเครื่องยนต์ไม่พอ จะส่งผลให้เครื่องยนต์มีอาการเร่งไม่ขึ้น กระตุก และสตาร์ทยากได้

แนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 2 ปี หรือ ทุกๆ 80,000 กิโลเมตร

  1. หลอดไฟต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟเลี้ยวต่างๆ ไฟตัดหมอก ควรตรวจเช็คอยู่เสมอว่าติดครบทุกดวงหรือไม่ หากเสียหรือใช้การไม่ได้ ให้รีบเปลี่ยน

  1. สายพานไทม์มิ่ง

สายพานไทม์มิ่งเป็นสายพานหลักของเครื่องยนต์ หากเกิดการชำรุดหรือขาด จะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างรุนแรง เมื่อรถวิ่งครบ 150,000 กิโลเมตร ควรเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง

  1. หัวเทียน

หัวเทียนส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก หากหัวเทียนเก่าจนเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์สะดุดทำงานได้ไม่เต็มที่

ควรเปลี่ยนหัวเทียนประมาณ 40,000 กิโลเมตร หรือทุกๆ 100,000 กิโลเมตร

  1. ใบปัดน้ำฝน

ใบปัดน้ำฝน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานบ่อย แต่ก็ควรตรวจเช็คให้แน่ใจทุกครั้งโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน หากไม่สามารถรีดน้ำได้เหมือนปกติ ปัดไม่สะอาด หรือปัดแล้วเกิดรอยเป็นเส้นๆ ควรรีบเปลี่ยน ระยะเวลาในการเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนนั้นก็อยู่ที่เวลาประมาณ 1 ปี

การดูแลรักษารถยนต์ และอะไหล่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อะไรชำรุดเสียหายก็ควรเปลี่ยนหรือซ่อม ไม่ควรมองข้ามหรือปล่อยผ่าน หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดความเสียหายที่มากขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Call Center : 02-510-9999

นัดหมายเข้าศูนย์บริการ Click : https://bit.ly/3PDOLgp

รับแคมเปญสำหรับซื้อรถใหม่ Click : https://bit.ly/3VB1VhO

Line @toyotakrungthai Click : https://lin.ee/i8Nhjbj

Facebook Toyota Krungthai Click : https://bit.ly/4aN5oiK

เมื่อจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วม มีวิธีขับและดูแลหลังขับอย่างไร

หลายพื้นที่เริ่มเผชิญกับฝนตกหนัก ปัญหาที่ตามมาคือ เกิดน้ำท่วม น้ำขัง การขับรถลุยน้ำจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีการขับรถลุยน้ำ และการดูแลรถหลังจากขับรถลุยน้ำแล้วเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้รถของเราเกิดความเสียหายหรือเสียหายน้อยที่สุด

วิธีขับรถลุยน้ำท่วม 

  1. ก่อนถึงจุดน้ำท่วมต้องลดความเร็วลง เพราะถ้าขับรถเร็วผ่านบริเวณน้ำท่วมขัง รถจะเบา คุมรถไม่อยู่และอาจเสียการทรงตัวได้ โดยอย่าให้ความเร็วเกิน 60-80 กม./ชม.
  1. ปิดระบบแอร์ภายในรถ เพราะถ้าเปิดไว้ใบพัดลมแอร์อาจพัดเอาน้ำเข้ามาในห้องเครื่อง หรือเข้าระบบไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายได้
  1. ระดับน้ำที่จะขับผ่านได้ ถ้าเป็นรถเก๋งก็ประมาณไม่เกิน 30 ซ.ม. หรือประมาณครึ่งล้อ ถ้าระดับน้ำสูงเกินกว่านี้มีโอกาสเครื่องยนต์ดับได้
  1. ใช้เกียร์ต่ำขณะลุยน้ำ คือเกียร์1-2 และรักษาอัตราเร่งไว้ให้ได้ประมาณ 1500-2000 รอบ ถ้าต่ำกว่านี้เครื่องอาจจะดับ หรือสูงกว่านี้อาจจะดูดอากาศและน้ำเข้าในเครื่องยนต์ได้
  1. รักษาระยะห่างระหว่างรถให้มากกว่าเดิม 2-3 เท่า เพราะระบบเบรกแช่น้ำอยู่ทำให้ประสิทธิภาพการเบรกต่ำลง ถ้าขับพ้นน้ำแล้วให้ขับช้าๆ และเบรกเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผ้าเบรกแห้ง ถ้าเป็นดิสเบรกจะแห้งเร็ว แต่ถ้าดรัมเบรกจะแห้งช้ากว่า 
  1. ถ้าเกิดเครื่องยนต์ดับขณะขับลุยน้ำ ห้ามสตาร์ทรถ เพราะจะทำให้น้ำยิ่งเข้าในระบบเครื่องยนต์ ให้หาคนช่วยเข็นไปยังจุดที่พ้นน้ำ 

 

วิธีดูแลรถหลังขับลุยน้ำ

  1. ตรวจสภาพห้องโดยสาร ควรตรวจสอบความเสียหายทันทีหลังลุยน้ำท่วม โดยสังเกตที่พรมปูพื้น หากใต้พรมมีน้ำแฉะให้รีบนำออกตากแดด เช็ดหรือดูดน้ำที่ขังให้แห้งทันที จากนั้นเปิดประตูทั้งสี่ด้านเพื่อระบายอากาศ ไล่ความชื้นในห้องโดยสาร
  1. ตรวจสอบระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ควรตรวจสอบที่ภายในกล่องฟิวส์ว่ามีความเสียหายหรือไม่ หากมีความเสียหายที่ฟิวส์ใดก็ควรเปลี่ยน  และควรตรวจสอบไฟต่างๆ ภายนอกรถด้วย หากอยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ ควรถอดขั้วแบตเตอรี่ออกและให้ช่างตรวจสอบ
  1. ตรวจการทำงานของเครื่องยนต์  หากเครื่องยนต์มีอาการผิดปกติ เช่น อาการกระตุก เร่งไม่ขึ้น เสียงดังกว่าปกติ ให้ตรวจสอบก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง หากมีสีเหมือนกาแฟใส่นม แสดงว่ามีน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ จากนั้นตรวจสอบกรองอากาศ หากพบว่ากรองอากาศ และท่อไอดีเปียก มั่นใจได้ว่ามีน้ำเข้าจริง ควรนำรถเข้าศูนย์ให้ช่างตรวจสอบ
  1. ตรวจสอบการใช้งานของเบรก  เนื่องจากขับรถลุยน้ำอาจทำให้ผ้าเบรกเปียก อย่าเร่งเครื่องออกตัวด้วยความเร็วสูงเด็ดขาด เมื่อเหยียบเบรกรถอาจเสียหลักเนื่องจากลื่นได้ ควรเหยียบเบรกย้ำๆ หลายๆครั้ง เพื่อให้ผ้าเบรกกับจานเบรก อยู่ในสภาพปกติเมื่อมีการสัมผัสกันตอนเบรก ควรขับรถในความเร็วที่เหมาะสม ไม่เร็วเกินไปเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Call Center : 02-510-9999

นัดหมายเข้าศูนย์บริการ Click : https://bit.ly/3PDOLgp

รับแคมเปญสำหรับซื้อรถใหม่ Click : https://bit.ly/3VB1VhO

Line @toyotakrungthai Click : https://lin.ee/i8Nhjbj

Facebook Toyota Krungthai Click : https://bit.ly/4aN5oiK

 

สัญญาณเตือนที่แสดงให้รู้ว่า “ท่อไอเสีย”รถยนต์ของเรากำลังจะพัง

“ท่อไอเสีย” เป็นองค์ประกอบเล็กๆแต่มีความสำคัญมาก ถ้าการระบายไอเสียจากเครื่องยนต์ที่ผ่านทางท่อไอเสียมีการทำงานผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ภายในรถอย่างแน่นอน

สัญญาณเตือนบ่งบอก ท่อไอเสียกำลังจะพัง

  1. ท่อไอเสียมีรอยแตก หรือมีสนิมจับ เกิดการชำรุดของท่อไอเสียที่สามารถมองเห็นได้ เมื่อสตาร์ทรถแล้วเห็นควันไม่ได้ออกจากปลายท่อ แต่มีการซึมออกตามกลางท่อ ต้องรีบนำรถเข้าศูนย์ตรวจเช็กทันที
  1. มีเสียงดังครืด..ครืดจากเครื่องยนต์ หากมีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์แบบไม่มีสัญญาณเตือน แสดงว่าท่อไอเสียกำลังมีปัญหา สังเกตได้ง่ายๆหากต้องเปิดเพลงหรือวิทยุดังกว่าเดิมที่เคยฟัง แสดงว่าเครื่องยนต์เริ่มดังเกินไปแล้ว ควรรีบนำรถเข้าเช็กที่ศูนย์บริการ
  1. คันเร่งมีความผิดปกติ หากตอนเหยียบคันเร่งเกิดอาการสั่นของรถที่มากผิดปกติ สันนิษฐานได้ว่ามีบางส่วนของท่อไอเสียเกิดปัญหา ถ้าเป็นเสียงก้องในตอนที่สตาร์ท แสดงว่ามีรอยรั่วที่ใหญ่มากจนได้ยินมาถึงในห้องเครื่อง ต้องรีบนำเข้าศูนย์ตรวจเช็กทันที
  1. เกิดเสียงรั่ว ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเกิดมีเสี่ยงรั่วออกมา หมายความว่าเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา หรือแคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์บนรถกำลังพัง รถสามารถใช้งานได้สักระยะ แต่ก็ควรนำรถเข้าตรวจเช็ก
  1. มีกลิ่นไหม้ในห้องโดยสาร แสดงว่าท่อไอเสียรั่วทำให้ก๊าซอาร์บอนมอนอกไซด์เข้ามาในห้องโดยสาร อาจส่งผลให้เกิดอาการมึนศีรษะ จนถึงขั้นหมดสติและอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
  1. ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์แย่ลง เช่น การเดินทางระยะทางเท่าเดิม ความเร็วเท่าเดิม แต่รถยนต์กินน้ำมันมากขึ้นกว่าปกติ

เมื่อพบปัญหาท่อไอเสียทำงานผิดปกติ ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ก อย่าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Call Center : 02-510-9999

นัดหมายเข้าศูนย์บริการ Click : https://bit.ly/3PDOLgp

รับแคมเปญสำหรับซื้อรถใหม่ Click : https://bit.ly/3VB1VhO

Line @toyotakrungthai Click : https://lin.ee/i8Nhjbj

Facebook Toyota Krungthai Click : https://bit.ly/4aN5oiK

ดิสก์เบรก กับ ดรัมเบรก แบบไหนดีกว่ากัน

ระบบเบรก (Break) หรือระบบห้ามล้อ คือสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับความปลอดภัยของรถยนต์ เนื่องจากเป็นระบบที่ช่วยในการบังคับและควบคุมยานพาหนะให้สามารถชะลอความเร็วลงได้ โดยเบรกได้ผ่านการพัฒนาและทดสอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหลายครั้ง เพื่อเป็นประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดในการขับขี่

ระบบเบรกที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมี 2 แบบ 

ดรัมเบรก (Drum Brake) 

เป็นระบบเบรกชุดแรกๆ ที่มีการพัฒนามา แม้ว่าปัจจุบันดรัมเบรกจะไม่ค่อยมีการใช้งานกับยานยนต์สมัยใหม่เท่าใดนัก แต่ยังมีให้เห็นอยู่บ้างในรถเก๋งหรือรถกระบะบางรุ่น

ดรัมเบรกมีลักษณะเด่นที่สำคัญคือ ผ้าเบรกที่มีรูปร่างโค้งสองอัน เรียกว่า ฝักนำและฝักตาม โดยผ้าเบรกทั้งสองจะถูกแม่ปั๊มดันให้ไปยึดติดกับด้านในของฝาครอบเบรก ซึ่งจะถูกดันอีกทอดหนึ่งให้ไปติดกับล้อรถ ส่งผลให้ความเร็วรถค่อยๆชะลอจนหยุดอยู่กับที่ ปัจจุบันดรัมเบรกนิยมใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ โดยมีการติดตั้งทั้งสี่ล้อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการหยุดรถ รวมถึงรถรุ่นใหม่บางยี่ห้อที่นิยมติดตั้งดรัมเบรกบริเวณล้อหลัง 

ข้อดี

– ไม่ต้องใช้แรงเหยียบมาก

– มีกำลังหยุดรถสูง เหมาะกับรถที่บรรทุกของหนัก

– มีระบบปิดมิดชิด ไม่ต้องดูแลรักษาบ่อย

ข้อเสีย

– มีความร้อนสะสมสูง

– ไม่ค่อยแม่นยำ เพราะตอบสนองค่อนข้างช้า

– ระบายน้ำได้ไม่ค่อยดี

– ดูแลรักษายาก

ดิสก์เบรก (Disk Brake)

เป็นระบบเบรกที่นิยมใช้ในยานยนต์อย่างรถเก๋งหรือรถกระบะ โดยหลักการทำงานสำคัญคือ เมื่อมีการเหยียบเบรก แม่ปั๊มจะดันผ้าเบรกไปหนีบกับจานเบรกที่ติดกับกงล้อ ทำให้ยานยนต์ค่อย ๆ ชะลอความเร็วลงจนหยุดลงในที่สุด ดิสก์เบรกติดตั้งอยู่บริเวณสองล้อหน้า ส่วนยานยนต์ที่ต้องใช้ความเร็วมากอาจมีการติดตั้งดิสก์เบรกทั้งสี่ล้อเพื่อเพิ่มความสามารถในการเบรกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรถแข่งที่ต้องเร่งความเร็วในการเข้าโค้ง สมรรถนะในการเกาะพื้นถนนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความปลอดภัยของผู้ขับขี่

ข้อดี
– มีความแม่นยำ ตอบสนองได้ทันที

– ดูสวยงามกว่าดรัมเบรก

– ระบายความร้อนได้เร็ว และระบายน้ำได้ดี

– ตรวจเช็ก ทำความสะอาด และบำรุงรักษาง่าย

ข้อเสีย

– กำลังในการเบรกสู้ดรัมเบรกไม่ได้

– ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

– ผ้าเบรกหมดไว ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกบ่อย

ระบบเบรกทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันอยู่ไม่มากไม่น้อย แต่ปัจจุบันระบบยอดนิยมก็คือ ดิสก์เบรก เพราะนอกจากประสิทธิภาพในการใช้งานแล้ว ยังสามารถอัพเกรดให้ดีขึ้นรวมถึงเพิ่มความสวยงามได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Call Center : 02-510-9999

นัดหมายเข้าศูนย์บริการ Click : https://bit.ly/3PDOLgp

รับแคมเปญสำหรับซื้อรถใหม่ Click : https://bit.ly/3VB1VhO

Line @toyotakrungthai Click : https://lin.ee/i8Nhjbj

Facebook Toyota Krungthai Click : https://bit.ly/4aN5oiK

ประเภทของดอกยางและลักษณะลายดอกยาง มีอะไรบ้าง

ยางรถยนต์คือหนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในขณะเดินทาง ผู้ใช้รถจึงควรให้ความสำคัญและรู้จักยางรถยนต์ เพื่อที่จะเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม อีกสิ่งหนึ่งบนยางรถยนต์ที่ควรรู้คือ ดอกยาง ที่เกี่ยวข้องกับการยึดเกาะถนน ลายดอกยางจึงมีมากมายหลายแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ประเภทของดอกยาง

ยางรถยนต์ในปัจจุบันจะมีการใช้ดอกยาง 4 ประเภท 

– ดอกยางละเอียด (Rib Pattern)  ลักษณะของดอกยางประเภทนี้คือ เป็นแนวยาวบนหน้ายางตามวงรอบของยาง ดอกยางแบบนี้ทำให้เสียหน้าสัมผัสจากร่องยางกับพื้นถนนไม่มาก รีดน้ำได้รวดเร็ว มีเสียงรบกวนน้อย เหมาะกับรถที่ขับบนทางเรียบ

– ดอกยางแบบบั้ง (Lug Pattern) มีลักษณะบั้งเป็นแนวขวางบนหน้ายาง หรือขวางเส้นรอบวงของยาง ดอกยางถูกออกแบบมาลักษณะนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการตะกุย เหมาะสำหรับการใช้งานในถนนที่ขรุขระ แต่ก็ใช้บนถนนทั่วไปได้ที่ความเร็วต่ำ และยังมีร่องยางที่ลึกเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นาน

– ดอกยางแบบผสม (Rib Lug Pattern) เป็นประเภทของดอกยางที่ผสานลักษณะของดอกยางแบบละเอียด และแบบบั้งไว้ด้วยกัน โดยดอกยางแบบผสมจะมีดอกยางแบบละเอียดอยู่บริเวณพื้นที่ตรงกลาง และมีดอกยางแบบบั้งขนาบที่ขอบหน้ายางทั้งสองด้าน เหมาะสำหรับรถที่ใช้งานทั้งบนทางเรียบ และทางขรุขระสลับกัน

– ดอกยางแบบบล็อก (Block Pattern) มีลักษณะของดอกยางเป็นก้อนหรือจุด มีทั้งที่เป็นบล็อกเหลี่ยมหรือกลม ดอกยางลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพในการตะกุยสูง ทำให้เหมาะสำหรับรถที่ใช้งานแบบลุย หรือเส้นทางที่มีความโหดอย่างเช่นรถออฟโรด

ลักษณะของลายดอกยาง

นอกจากดอกยางแล้วสิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับการใช้งานคือ ลายดอกยาง ซึ่งมีด้วยกัน 3 ลักษณะ

– ดอกยางทิศทางเดียว (Directional) ดอกยางมีลักษณะไปในทิศทางเดียวกัน โดยแก้มยางมีสัญลักษณ์ลูกศรแสดงทิศทางการหมุน เพื่อให้ใส่ยางได้ถูกต้อง ดอกยางลักษณะนี้มีจุดเด่นคือ สามารถรีดน้ำได้ดีกว่าดอกยางแบบสองทิศทาง

– ดอกยาง 2 ทิศทาง (Non Directional) ลักษณะของดอกยางถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสลับยางได้ทุกตำแหน่ง เพื่อการใช้งานที่นาน 

– ดอกยางแบบสมมาตร (Symmetric) เป็นลักษณะดอกยางที่เห็นได้ในยางส่วนใหญ่ คือมีลักษณะดอกยางและร่องยางที่ต่อเนื่องทั่วพื้นที่หน้ายาง หากแบ่งพื้นที่หน้ายางเป็นสองส่วน ลวดลายในแต่ละส่วนจะเหมือนกันทุกประการ

– ดอกยางแบบไม่สมมาตร (Asymmetric) เป็นลักษณะของดอกยางที่มีลายดอกยางทั้งสองฝั่งไม่เหมือนกัน หรือลายดอกยางด้านในด้านนอกต่างกัน โดยถูกออกแบบมาให้หน้ายางด้านในมีประสิทธิภาพสูงในการขับทางตรงและใช้ความเร็วสูง โดยที่ดอกยางด้านนอกจะให้การยึดเกาะถนนได้ดีเมื่อเข้าโค้ง เมื่อใส่ยางควรสังเกตให้ด้านที่มีคำว่า Outside บนแก้มยางอยู่ด้านนอก และคำว่า Inside อยู่ด้านใน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Call Center : 02-510-9999

นัดหมายเข้าศูนย์บริการ Click : https://bit.ly/3PDOLgp

รับแคมเปญสำหรับซื้อรถใหม่ Click : https://bit.ly/3VB1VhO

Line @toyotakrungthai Click : https://lin.ee/i8Nhjbj

Facebook Toyota Krungthai Click : https://bit.ly/4aN5oiK