เรื่อง

เกียร์ออโต้ ตำแหน่งต่างๆ ใช้อย่างไรบ้าง?

รถยนต์เกียร์อัตโนมัติกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากขับขี่นุ่มนวลและสะดวกสบาย เหมาะกับสภาพถนนในปัจจุบัน และยังช่วยควบคุมรถได้ดีขึ้น

ตำแหน่งต่างๆและตัวเลขของเกียร์ออโต้ คืออะไร

  1. P ย่อมาจาก Parking : เกียร์สำหรับจอดแบบล็อคล้อ หากจอดบนที่ลาดชัน ให้ใช้ร่วมกับการดึงเบรกมือ
  2. R ย่อมาจาก Reverse : เกียร์ถอยหลัง เมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้ รถจะถอยหลังได้เองอย่างช้าๆ โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง เพราะจะทำให้รถถอยหลังอย่างเร็ว เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ ควรวางเท้าไว้ที่แป้นเบรกตลอดเวลา
  3. N ย่อมาจาก Neutral : เกียร์ว่าง สำหรับจอดรถแบบชั่วคราว เช่นจอดติดไฟแดง หรือจอดชะลอกรณีการจราจรติดขัด และยังสามารถใช้จอดไว้ในที่จอดรถตามห้าง โดยล้อจะไม่ถูกล็อค สามารถเข็นได้
  4. D ย่อมาจาก Drive : เกียร์หลัก สำหรับการขับขี่ปกติใช้สำหรับเดินหน้า เมื่อเกียร์อยู่ตำแหน่ง D รถจะออกตัวแล่นไปเองช้าๆ เมื่อเหยียบคันเร่ง เกียร์จะเปลี่ยนให้เองอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่เกียร์ 1 ไปถึงเกียร์สูงสุด โดยจะขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ เน้นวิ่งทางราบเป็นหลัก

          – D3 เป็นเกียร์ที่เราจะใช้เมื่อต้องการเร่งเครื่องแซง เมื่อเกียร์อยู่ตำแหน่ง D3 เครื่องยนต์จะมีกำลังแรงมากขึ้นที่จะขับแซงคันหน้าได้ หรืออาจใช้เมื่อขับขึ้นทางชันเล็กน้อย เช่นขับขึ้นสะพาน

          – D2 เป็นเกียร์ที่จะใช้เมื่อขับรถขึ้น-ลงเนินที่ค่อนข้างชัน เช่นภูเขา หรือทางคดเคี้ยว หรือที่จอดตามห้างและอาคารสูงๆ

  1. S ย่อมาจาก Sport : เกียร์Sport มักจะมีในรถยนต์ออโต้รุ่นใหม่ๆ เกียร์นี้จะช่วยให้เปลี่ยนอัตราทดเกียร์ช้าลง เครื่องยนต์ลากรอบมากกว่าปกติ รถจะมีกำลังมากขึ้น ไว้สำหรับเร่งแซง
  2. L ย่อมาจาก Low (หรือ D1) เป็นเกียร์ต่ำ ใช้ขับกรณีขึ้นภูเขา ลาดชันสูง รวมไปถึงการลงเขา รถจะใช้ความเร็วต่ำ ให้ความปลอดภัยได้มากกว่า

การใช้งานเกียร์อัตโนมัติอย่างถูกวิธีก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถ และช่วยยืดอายุเกียร์ให้สามารถใช้ได้ไปอีกยาวๆ 

จอดรถบนทางลาดชัน (ด้วยเกียร์ P) ตามขั้นตอนที่ถูกต้องช่วยถนอมเกียร์ได้

ระบบเกียร์ออโต้ หรือเกียร์อัตโนมัติ แทบจะกลายเป็นระบบเกียร์ส่วนใหญ่ของรถที่วิ่งบนถนนในเมืองไทยไปแล้ว ไม่ว่าจะเก๋งหรือกระบะ เพราะสะดวกสบายตอนขับขี่ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าเวลาต้องซ่อมเช่นกัน แต่การจอดที่ถูกวิธีก็มีส่วนช่วยในการถนอมเกียร์ได้

โดยทั่วไปควรจอดรถในทางราบปกติเลี่ยงการจอดบนทางลาดชัน เพราะการจอดบนทางลาดชันจะทำให้เกียร์ P ทำงานหนัก แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนที่ถูกต้อง ดังนี้

  • เหยียบเบรกให้รถไม่ไหล จากนั้นใส่เกียร์ N และดึงเบรกมือขึ้นจนสุด
  • ค่อยๆปล่อยเท้าออกจากแป้นเบรก ดูว่ารถยังไหลได้หรือไม่
  • ถ้ารถยังไหลให้แตะเบรกและดึงเบรกมือขึ้นจนสุดอีกครั้งจนรถไม่มีการไหล
  • จากนั้นค่อยใส่เกียร์ P และดับเครื่องยนต์

เพียงแค่การจอดรถถ้าทำผิดวิธีบ่อยๆก็อาจทำให้ชิ้นส่วนภายในของเกียร์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น ทุกครั้งที่จอดบนทางลาดชันหรือบนทางปกติถ้าทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอก็สามารถยืดอายุเกียร์ของรถให้อยู่กับคุณไปนานๆได้

อาการของเกียร์รถที่กำลังจะพัง

7 อาการของเกียร์ที่กำลังพัง

อาการของเกียร์รถที่กำลังจะพัง

ภาพโดย : สาระความรู้ เทคนิคและเทคโนโลยียานยนต์ โดยโตโยต้า กรุงไทย

7 อาการของเกียร์รถที่กำลังจะพัง

1. เกียร์ไม่เข้าตามตำแหน่ง

หลายคนคงเคยเจอปัญหาหรือรู้สึกว่า การเข้าเกียร์ในบางตำแหน่งเป็นไปได้ยาก นั่นเป็นสัญญาณหนึ่งที่สำคัญที่จะบ่งบอกอาการเบื้องต้นของอาการเกียร์รถกำลังจะพัง (แต่ต้องอาศัยความรู้สึกเบื้องต้นในขณะตอนขับหรือใช้งานรถยนต์นะครับ) แม้เรื่องนี้ส่วนใหญ่แล้วอาจจะเกิดในระบบเกียร์ธรรมดามากกว่า ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะเกิดจากสาเหตุอย่างอื่นด้วยเช่นกัน อาทิ น้ำมันเกียร์มีปริมาณต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งมีผลต่อการทำงานของชุดเฟืองในเกียร์ ถ้าตรวจสอบแล้วเป็นไปตามที่คาดเดาไว้เบื้องต้นนั้น เจ้าของรถควรจะเตรียมตัว และวางแผนในการซ่อมรถยนต์ของคุณได้เลยครับ

2. กลิ่นไหม้จากเกียร์

กลิ่นไหม้ก็เป็นสัญญาณอีกหนึ่งข้อที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน อย่างเกียร์รถยนต์นี้ก็สังเกตได้จากกลิ่นไหม้ได้เช่นกันครับ กลิ่นไหม้ที่มาจากตัวรถยนต์เรา โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อชุดเกียร์หรือผ้าเบรคทำงานผิดปกติ (ในกรณีมีกลิ่นจากผ้าเบรคนั้นส่วนใหญ่จะเจอตอนขับรถยนต์ขึ้นลงทางลาดชันหรือภูเขา) ในกรณีเมื่อชุดเกียร์ทำงานหนักหรือผิดปกตินั้น จะทำให้น้ำมันบางส่วนถูกเผาไหม้ และกลายเป็นกลิ่นออกมาเตือนคุณ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้แล้วให้คุณรีบซ่อมหรือนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อเช็คซ่อมต่อไป

3. เสียงไม่พึงประสงค์

อีก 1 ข้อสังเกตเรื่องเกียร์รถยนต์นั้นคือเสียง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงจอดรถเข้า เกียร์ว่างหรือตำแหน่ง เกียร์  N  หากรถคุณเป็นเกียร์อัตโนมัติจากนั้น คอยเงี่ยหูฟังเสียงคล้ายเหล็กกระทบกันดู ถ้ามีเสียงให้รีบตรวจสอบทันที เพราะการมีเสียงอาจหมายถึงมีชิ้นส่วนบางอย่างกำลังสึกหรอ อาจจะเป็นตัวฟันเฟืองเกียร์เองหรือกระทั่งพวกลูกปืนต่างๆ ซึ่งจะมีเสียได้ถ้า มันอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์

4. เกียร์ลื่น

อาการนี้ท่านผู้รักรถยนต์มักเจอในระบบ เกียร์ธรรมดา มากกว่าครับลองให้ท่านนึกดูนะครับว่ามีไหมที่คุณขับรถยนต์อยู่ดีๆ แล้วปรากฏว่าเกียร์รถยนต์ที่เข้าตามตำแหน่งถูกเลื่อนออกมาที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง ซึ่งในเกียร์อัตโนมัติเองก็อาการคล้ายๆกัน แต่จะเห็นชัดมากกว่าตอนที่คุณเร่ง เช่นใช้คันเร่งเท่าเดิม แต่ใช้เวลามากขึ้น หรือรถไม่ค่อยวิ่งทั้งที่เร่งเต็มพิกัด อาการเกียร์ลื่นเอง มักมีสาเหตุจากน้ำมันเกียร์อยู่ในระดับต่ำเกินไป บางครั้งอาจะมีส่วนมาจากคลัทช์ลื่น หรือผ้าคลัทช์เหลือน้อยด้วยครับ

5.คลัทช์ติด

อาการนี้ท่านผู้รักรถยนต์อาจจะไม่เกี่ยวกับตัวชุดเกียร์โดยตรงและมักเป็นมากในรถยนต์เกียร์ธรรมดา แต่อาการคลัทช์ติดอาจเกิดขึ้นได้กับท่านผู้รักรถยนต์ โดยเฉพาะคนที่ชอบขับรถที่มีอายุการใช้งานที่มาก ซึ่งอาการนี้เกิดจากคลัทช์เองไม่สามารถแยกตัวออกจากล้อช่วยแรง หรือภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Fly Wheel ซึ่งมันจะติดอยู่กับเครื่องยนต์ได้และมันทำให้คุณไม่สามารถเข้าตำแหน่งเกียร์อื่นๆได้ เนื่องจากคลัทช์ยังทำงานอยู่ ซึ่งการฝืนอาจจะทำให้ชุดเกียร์ได้รับความเสียหายได้ครับ

6. น้ำมันเกียร์รั่ว

เป็นอาการที่ชัดเจนและท่านผู้รักรถยนต์สามารถสังเกตได้ครับ เพราะเกิดได้ทั้งกับเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ โดยอาจจะเริ่มแค่ซึมๆ ตามห้องเกียร์ แต่อย่ามองข้าม เพราะมันอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ได้ การที่ชุดเกียร์มีระดับน้ำมันต่ำ อาจทำให้เกิดอุณหภูมิสูงในชุดเกียร์ และพังในท้ายที่สุด แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่การซ่อมก็ไม่ง่ายเพราะ การถอดประกอบเกียร์ต้องมีความชำนาญการไม่ต่างจากเครื่องยนต์ตามศูนย์บริการและอะไหล่ของค่ายรถยนต์ต่างๆครับ

7. อาการของเกียร์ไม่ตอบสนอง

อาการนี้เรียกว่าหนักสุดๆเลยครับ ท่านผู้รักรถยนต์ลองนึกดูนะครับจะเป็นอย่างไร ถ้าเกียร์ดับสนิทง่ายมากมันจะไม่ตอบสนองเลย โดยทั่วไปแล้วอาการนี้มักพบกับเกียร์อัตโนมัติมากกว่า เมื่อคุณเข้าตำแหน่งที่ต้องการแล้ว กลับพบว่าชุดเกียร์ไม่สามารถเดินหน้าหรือถอยหลังได้ ตายสนิทมันอยู่ตรงนั้นนั่นแหละบางครั้งในกรณีเดียวกัน อาจจะมีอาการคล้ายคลัทช์หรือเกียร์ลื่น ซึ่งลักษณะดังกล่าวมักจะเจอในเกียร์ธรรมดา ซึ่งถ้าเกิดอาการนี้ ทีมงานแนะนำเลยครับว่าให้รีบนำรถยนต์ของท่านเข้าศูนย์บริการและอะไหล่ของท่านโดยเร็วที่สุดเลยครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับ สาระความรู้รถยนต์ และ เกร็ดความรู้รถยนต์ ที่ทางทีมงานของ โตโยต้า กรุงไทย นำมาแนะนำในครั้งนี้ให้ครับ ซึ่งจากอาการทั้งหมดที่กล่าวมาทางทีมงานเชื่อเลยว่า หลายท่านคงพอจะได้ข้อสังเกตในเรื่องการทำงานของระบบเกียร์รถยนต์ ที่ท่านเองก็สามารถนำไปใช้ได้ในเบื้องต้นครับ ซึ่งเรื่องการดูแลรักษารถยนต์ไม่จำเป็นต้องช่างก็สามารถทำเองได้ครับผม ซึ่งคราวหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ต้องคอยติดตาม

นอกจากนี้ทางเรายังมีบริการอื่นๆจาก ศูนย์ซ่อมตัวถังและสี, ศูนย์บริการและอะไหล่ ไว้ให้บริการ

5 สิ่งที่ห้ามทำสำหรับคนที่มีรถเกียร์ออโต้

5 สิ่งที่ห้ามทำสำหรับคนที่มีรถเกียร์ออโต้

5 สิ่งที่ห้ามทำสำหรับคนที่มี รถเกียร์ออโต้5 สิ่งที่ห้ามทำสำหรับคนที่มีรถเกียร์ออโต้

1.เมื่อจะต้องหยุดรถเป็นระยะเวลานานๆ ท่านไม่สมควรใส่เกียร์ไว้ในตำแหน่ง D ค้างไว้ ถึงแม้กระนั้น ท่านควรที่จะเลื่อนไปตำแหน่งเกียร์ N หรือ P แล้ว ดึงเบรกมือไว้ การที่ท่านใส่เกียร์ D ค้างไว้เป็นระยะเวลานานๆแล้ว มันจะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสม ซึ่งทำให้องค์ประกอบด้านในชุดห้องเกียร์เกิดความเสียหาย อีกทั้งยังลดอายุการใช้งานให้สั้นลด ซึ่งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

2.เกียร์ออโต้ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จะมีโหมดให้เลือกเปลี่ยนเกียร์เองเหมือนเกียร์แมนนวล ในส่วนนี้จะทำให้ประสิทธิภาพการตอบสนองนั้นสู้เกียร์แมนนวลแท้ ๆ แบบมีคลัตช์ไม่ได้ ทำให้หลายคนชอบลากรอบเครื่องยนต์ให้สูง แล้วค่อยชิพเปลี่ยนเกียร์ที่คันเกียร์ หรือแพทเดิลชิพที่พวงมาลัยหรือวิ่งด้วยความเร็วสูงแล้วเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำ ทำให้รอบเครื่องสูงไม่สัมพันธ์กับความเร็ว จะทำให้เกียร์ได้รับความเสียหายได้ ควรใช้ตำแหน่งเกียร์และความเร็วที่เหมาะสมสัมพันธ์กัน ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์สูงโดยไม่จำเป็น

3. การใช้เกียร์ออโต้ในตำแหน่ง 1 หรือ L นั้น ควรใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ จริงๆแล้ว กรณีนี้ควรจะใช้ในกรณีที่ต้องการแรงบิดที่มากขึ้นเวลาขึ้นทางลาดชัน ติดหล่ม ลากรถขึ้นจากหล่ม หรือเวลาลงทางชัน ต้องการใช้เอ็นจินเบรก แทนการใช้เบรกที่ล้อที่จะเกิดความร้อนสะสมได้ การใช้เกียร์ออโต้ในตำแหน่ง 1 หรือ L นั้น ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นระยะทางไกล ๆ เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสะสมในห้องเกียร์ได้ซึ่งนำมาให้ระบบเกียร์เกิดความเสียหายได้ในระยะยาว

4. การขับรถเกียร์ออโต้นั้น ถ้าผู้ขับขี่ไม่มีความชำนาญหรือความคุ้นเคยกับเกียร์ออโต้ของรถแต่ละคันแล้วจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน สำหรับในการคิ๊กดาวน์ หรือชิพดาวน์เพื่อต้องการอัตราเร่งเพื่อแซงรถคันหน้านั้น การตอบสนองของรถแต่ละยี่ห้อและรุ่นตอบสนองไม่เหมือนกัน บางรุ่นตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทันใจ บางรุ่นจะมีหน่วงอยู่บ้าง ผู้ขับขี่ควรเรียนรู้และมีสร้างความคุ้นเคยกับรถที่ขับให้เป็นอย่างดี การเร่งแซงที่ผิดจังหวะ หรือกะระยะไม่ดี จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

5. เกียร์ออโต้ก็ต้องการบำรุงรักษาเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของเครื่องยนต์ สำหรับการบำรุงรักษาโดยปกติจะเป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ ควรเปลี่ยนตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด อย่าฝืนใช้เกินกำหนดเป็นระยะทางเป็นเวลานาน บรรดาเศษโลหะจะสะสมในห้องเกียร์มากขึ้น และจะทำให้ระบบเกียร์ทำงานไม่ได้สมบูรณ์การระบายความร้อนห้องเกียร์ก็จะทำได้ไม่เต็มที่ อายุการใช้งานสั้นลง ต้องเข้าโรงซ่อมเพียงอย่างเดียวและเมื่อต้องซ่อมเกียร์จะเสียทั้งเวลาและเงินไปโดยใช่เหตุ

และสำหรับการดูแลและรักษายืดอายุการใช้งาน เกียร์ออโต้ นั้นทำได้ไม่ยากเพียงแค่ท่านผู้รักรถยนต์ลองฝึกและปฏิบัติตาม สร้างความคุ้นเคยกับ เกียร์ออโต้  ในรถยนต์ของท่านกันถึงแม้ท่านจะขับรถยนต์ได้คล่องขนาดไหน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุก็ยังมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้เสมอท่านสามารถติดตาม เกร็ดความรู้รถยนต์ และ สาระความรู้รถยนต์ ได้ที่เว็บไซต์ โตโยต้า กรุงไทย ซึ่งคราวหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ต้องคอยติดตาม

นอกจากนี้ทางเรายังมีบริการอื่นๆจาก ศูนย์ซ่อมตัวถังและสี, ศูนย์บริการและอะไหล่ ไว้บริการท่านอีกด้วย


โปรแรงๆ ขวัญใจ กระบะ Revo


ติดตามข่าวสาร โปรโมชั่นดีๆ และความเคลื่อนไหวของเรา

โตโยต้า กรุงไทย ได้ที่

youtube_logo  facebook icon  line icon  google plus icon  twitter icon


แชร์บทความ