เรื่อง

ศูนย์บริการโตโยต้าให้ใจ ให้มากกว่าใคร ปลอดฝุ่นอุ่นใจ ปลอดภัยจากมลพิษ

ศูนย์บริการโตโยต้าให้ใจให้มากกว่าใคร ปลอดฝุ่นอุ่นใจ ปลอดภัยจากมลพิษ ดูแลรถ ช่วยลดควันดำสาเหตุ PM2.5 ที่ศูนย์บริการโตโยต้า


หมายเหตุ

  • จำกัดสิทธิ์สำหรับลูกค้าโตโยต้าไฮลักซ์ วีโก้ และไฮลักซ์ รีโว่ ที่มีอายุรถตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น
  • แพ็กเกจเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องราคาพิเศษ พร้อมบริการตรวจเช็ก ฟรี 38 รายการ จากบริการ ECO PACK Service
  • ราคาโปรโมชันดังกล่าวเป็นราคาสุทธิแล้ว (รวมค่าอะไหล่ ค่าแรง และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • รับประกันงานซ่อม 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร
  • โปรโมชันดังกล่าวเฉพาะการเปิดงานซ่อมที่ศูนย์บริการฯ เท่านั้น ไม่สามารถใช้กับการซื้ออะไหล่ไปใช้ภายนอกศูนย์บริการฯ ได้ 
  • กรุณานัดหมายก่อนเข้ารับบริการ / สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 025109999กด9

อาการรถกระตุก เครื่องยนต์สะดุด มีสาเหตุจากอะไรบ้าง

เมื่อสตาร์ทรถ แล้วรถมีอาการกระตุกหรือเครื่องยนต์สั่นมากจนผิดสังเกต รวมถึงตอนขับปกติและเร่งความเร็ว เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง และแก้ไขอย่างไร

  1. ยางแท่นเครื่องเสื่อม เป็นสาเหตุยอดนิยมที่ทำให้เกิดอาการเครื่องสั่น อาจเกิดจากยางแท่นเครื่องชำรุด เนื่องจากยางแท่นเครื่องมีหน้าที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือนขณะที่เครื่องกำลังหมุน เมื่อใช้งานไปนาน ๆ จะเกิดอาการเสื่อมหรือฉีกขาด

วิธีแก้ไข ควรให้ช่างเปลี่ยนยางแท่นเครื่องใหม่ โดยปกติแล้วเมื่อมีอายุการใช้งานครบ 100,000 กิโลเมตร ควรเปลี่ยนใหม่ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น เมื่อเจอทางขรุขระ, ลูกระนาด, หลุม, หรือเศษหินเกลื่อนกลาดอยู่ตามพื้นถนน ควรลดความเร็วลง หรือใช้ความเร็วต่ำ

  1. หัวเทียนเสื่อมสภาพ ปัญหาหัวเทียนเสื่อมสภาพสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ นอกจากจะทำให้รถกระตุกแล้วยังทำให้รถสตาร์ทไม่ติดอีกด้วย 

วิธีแก้ไข ให้ถอดหัวเทียนออกมาตรวจเช็กว่ามีคราบเขม่าหรือไม่ หากมีให้ทำความสะอาดจนหมดคราบและใส่กลับเข้าที่ หรือหากเริ่มสึกหรอควรเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

  1. ไส้กรองอากาศสกปรกอุดตัน เป็นอีกตัวการที่ทำให้รถกระตุกเพราะอากาศไม่สามารถเข้าไปที่ห้องเผาไหม้ได้

วิธีแก้ไข ถอดไส้กรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาด หรือหากไส้กรองหมดอายุแล้วก็ควรเปลี่ยนใหม่ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนไส้กรองคือทุก 10,000 กิโลเมตร

  1. หัวฉีดน้ำมันสกปรก หากหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มสกปรกหรืออุดตันก็อาจทำให้เครื่องยนต์สั่นได้

วิธีแก้ไข เติมสารล้างหัวฉีดที่สามารถหาซื้อได้ตามปั๊มน้ำมันทั่วไป เติมสารดังกล่าวลงในน้ำมัน อัตราส่วน 1 ขวดต่อน้ำมันเต็มถัง หรือจะนำรถเข้าศูนย์เพื่อถอดล้างหัวฉีดก็ได้เช่นกัน

  1. กรองน้ำมันเชื้อเพลิงตัน กรองน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยกรองและดักจับสิ่งสกปรกที่อาจปะปนมากับน้ำมันเชื้อเพลิง หากกรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตันก็จะทำให้เครื่องยนต์สั่นได้ เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายไปที่เครื่องยนต์ไม่ทันกับการใช้งานนั่นเอง

วิธีแก้ไข ถอดกรองน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาเปลี่ยน แต่ควรทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น

ทั้งหมดคือสาเหตุที่ทำให้รถกระตุก เครื่องยนต์สั่น และวิธีแก้ไขเบื้องต้นแต่ทางที่ดีควรนำรถเข้าเช็กตามระยะทางที่กำหนดไว้เสมอ พร้อมบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนใหม่ จะได้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาเครื่องยนต์สั่นอีกต่อไป 

อะไหล่รถที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด มีอะไรบ้าง

การดูแลรักษารถยนต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆในรถยนต์นั้น มีการสึกหรอตามการใช้งานของมัน มาดูกันว่ามีอะไหล่ส่วนใดบ้างที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด

10 อะไหล่ในรถยนต์ ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด มีอะไรบ้าง

  1. น้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่อง 

น้ำมันเครื่องเป็นปัจจัยหลักในการหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดทุกครั้ง หรือหากพบว่าน้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท นั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่าน้ำมันเครื่องหมดอายุ  ให้ทำการเปลี่ยนก่อนกำหนดได้เลย

ระยะเวลาที่เราควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนั้นก็อยู่ที่ ทุกๆ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำมันเครื่อง

  1. ผ้าเบรก 

ผ้าเบรกคือชิ้นส่วนหลักที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของรถ ควรมีการตรวจเช็คทุกๆ 10,000 กิโลเมตร หากผ้าเบรกใกล้หมดจะมีเสียงดังเอี๊ยดเกิดขึ้นขณะเหยียบเบรก หากผ้าเบรกหมดและไม่แก้ไข อาจก่อให้เกิดอันตรายได้

  1. แบตเตอรี่

แบตเตอรี่มีทั้งแบบแห้งและเปียก ซึ่งแบบแห้งก็จะไม่ต้องดูแลรักษาใดๆตลอดอายุการใช้งาน แต่แบบเปียก จำเป็นต้องมีการเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับอยู่เสมอ 

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 2-3 ปีแล้วแต่การใช้งาน แบตเปียกควรเช็คน้ำกลั่นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  1. ไส้กรองอากาศ 

ไส้กรองอากาศเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการกรองสิ่งสกปรกในอากาศก่อนเข้าไปยังเครื่องยนต์ ซึ่งหากว่ามีสิ่งสกปรกอุดตันเป็นจำนวนมากก็จะทำให้การเผาไหม้นั้นไม่สมบูรณ์ ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ก็จะลดลง

ระยะเวลาในการเปลี่ยนไส้กรองอากาศนั้นอยู่ที่ระยะเวลา 1 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร และควรจะเป่าทำความสะอาดทุกๆ 3,000 – 5,000 กิโลเมตร

  1. น้ำมันเกียร์ และไส้กรองน้ำมันเกียร์

ระบบเกียร์มีชิ้นส่วนประกอบที่เป็นโลหะเข้าด้วยกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบทั่วไป แบบ CVT หรือแบบ Dual-clutch ซึ่งระบบเกียร์นั้นจะมีการเคลื่อนที่ภายในตลอดเวลา จึงมีอัตราการสึกหรอสูง น้ำมันเกียร์เป็นสิ่งสำคัญในการลดการสึกหรอดังกล่าว

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 20,000 – 40,000 กิโลเมตรแล้วแต่รุ่นรถ

  1. ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

ชิ้นส่วนนี้จะสามารถพบได้ทั้งรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรกต่างๆ และน้ำที่มาพร้อมกับน้ำมันที่เราเติมตามปั๊ม หากไส้กรองตันและปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป จนแรงดันน้ำมันไปยังเครื่องยนต์ไม่พอ จะส่งผลให้เครื่องยนต์มีอาการเร่งไม่ขึ้น กระตุก และสตาร์ทยากได้

แนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 2 ปี หรือ ทุกๆ 80,000 กิโลเมตร

  1. หลอดไฟต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟเลี้ยวต่างๆ ไฟตัดหมอก ควรตรวจเช็คอยู่เสมอว่าติดครบทุกดวงหรือไม่ หากเสียหรือใช้การไม่ได้ ให้รีบเปลี่ยน

  1. สายพานไทม์มิ่ง

สายพานไทม์มิ่งเป็นสายพานหลักของเครื่องยนต์ หากเกิดการชำรุดหรือขาด จะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างรุนแรง เมื่อรถวิ่งครบ 150,000 กิโลเมตร ควรเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง

  1. หัวเทียน

หัวเทียนส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก หากหัวเทียนเก่าจนเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์สะดุดทำงานได้ไม่เต็มที่

ควรเปลี่ยนหัวเทียนประมาณ 40,000 กิโลเมตร หรือทุกๆ 100,000 กิโลเมตร

  1. ใบปัดน้ำฝน

ใบปัดน้ำฝน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานบ่อย แต่ก็ควรตรวจเช็คให้แน่ใจทุกครั้งโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน หากไม่สามารถรีดน้ำได้เหมือนปกติ ปัดไม่สะอาด หรือปัดแล้วเกิดรอยเป็นเส้นๆ ควรรีบเปลี่ยน ระยะเวลาในการเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนนั้นก็อยู่ที่เวลาประมาณ 1 ปี

การดูแลรักษารถยนต์ และอะไหล่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อะไรชำรุดเสียหายก็ควรเปลี่ยนหรือซ่อม ไม่ควรมองข้ามหรือปล่อยผ่าน หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดความเสียหายที่มากขึ้น

เมื่อจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วม มีวิธีขับและดูแลหลังขับอย่างไร

หลายพื้นที่เริ่มเผชิญกับฝนตกหนัก ปัญหาที่ตามมาคือ เกิดน้ำท่วม น้ำขัง การขับรถลุยน้ำจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีการขับรถลุยน้ำ และการดูแลรถหลังจากขับรถลุยน้ำแล้วเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้รถของเราเกิดความเสียหายหรือเสียหายน้อยที่สุด

วิธีขับรถลุยน้ำท่วม 

  1. ก่อนถึงจุดน้ำท่วมต้องลดความเร็วลง เพราะถ้าขับรถเร็วผ่านบริเวณน้ำท่วมขัง รถจะเบา คุมรถไม่อยู่และอาจเสียการทรงตัวได้ โดยอย่าให้ความเร็วเกิน 60-80 กม./ชม.
  1. ปิดระบบแอร์ภายในรถ เพราะถ้าเปิดไว้ใบพัดลมแอร์อาจพัดเอาน้ำเข้ามาในห้องเครื่อง หรือเข้าระบบไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายได้
  1. ระดับน้ำที่จะขับผ่านได้ ถ้าเป็นรถเก๋งก็ประมาณไม่เกิน 30 ซ.ม. หรือประมาณครึ่งล้อ ถ้าระดับน้ำสูงเกินกว่านี้มีโอกาสเครื่องยนต์ดับได้
  1. ใช้เกียร์ต่ำขณะลุยน้ำ คือเกียร์1-2 และรักษาอัตราเร่งไว้ให้ได้ประมาณ 1500-2000 รอบ ถ้าต่ำกว่านี้เครื่องอาจจะดับ หรือสูงกว่านี้อาจจะดูดอากาศและน้ำเข้าในเครื่องยนต์ได้
  1. รักษาระยะห่างระหว่างรถให้มากกว่าเดิม 2-3 เท่า เพราะระบบเบรกแช่น้ำอยู่ทำให้ประสิทธิภาพการเบรกต่ำลง ถ้าขับพ้นน้ำแล้วให้ขับช้าๆ และเบรกเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผ้าเบรกแห้ง ถ้าเป็นดิสเบรกจะแห้งเร็ว แต่ถ้าดรัมเบรกจะแห้งช้ากว่า 
  1. ถ้าเกิดเครื่องยนต์ดับขณะขับลุยน้ำ ห้ามสตาร์ทรถ เพราะจะทำให้น้ำยิ่งเข้าในระบบเครื่องยนต์ ให้หาคนช่วยเข็นไปยังจุดที่พ้นน้ำ 

 

วิธีดูแลรถหลังขับลุยน้ำ

  1. ตรวจสภาพห้องโดยสาร ควรตรวจสอบความเสียหายทันทีหลังลุยน้ำท่วม โดยสังเกตที่พรมปูพื้น หากใต้พรมมีน้ำแฉะให้รีบนำออกตากแดด เช็ดหรือดูดน้ำที่ขังให้แห้งทันที จากนั้นเปิดประตูทั้งสี่ด้านเพื่อระบายอากาศ ไล่ความชื้นในห้องโดยสาร
  1. ตรวจสอบระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ควรตรวจสอบที่ภายในกล่องฟิวส์ว่ามีความเสียหายหรือไม่ หากมีความเสียหายที่ฟิวส์ใดก็ควรเปลี่ยน  และควรตรวจสอบไฟต่างๆ ภายนอกรถด้วย หากอยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ ควรถอดขั้วแบตเตอรี่ออกและให้ช่างตรวจสอบ
  1. ตรวจการทำงานของเครื่องยนต์  หากเครื่องยนต์มีอาการผิดปกติ เช่น อาการกระตุก เร่งไม่ขึ้น เสียงดังกว่าปกติ ให้ตรวจสอบก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง หากมีสีเหมือนกาแฟใส่นม แสดงว่ามีน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ จากนั้นตรวจสอบกรองอากาศ หากพบว่ากรองอากาศ และท่อไอดีเปียก มั่นใจได้ว่ามีน้ำเข้าจริง ควรนำรถเข้าศูนย์ให้ช่างตรวจสอบ
  1. ตรวจสอบการใช้งานของเบรก  เนื่องจากขับรถลุยน้ำอาจทำให้ผ้าเบรกเปียก อย่าเร่งเครื่องออกตัวด้วยความเร็วสูงเด็ดขาด เมื่อเหยียบเบรกรถอาจเสียหลักเนื่องจากลื่นได้ ควรเหยียบเบรกย้ำๆ หลายๆครั้ง เพื่อให้ผ้าเบรกกับจานเบรก อยู่ในสภาพปกติเมื่อมีการสัมผัสกันตอนเบรก ควรขับรถในความเร็วที่เหมาะสม ไม่เร็วเกินไปเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

 

เทคนิคขับรถลงเขาอย่างปลอดภัย ผ้าเบรกไม่ไหม้

การขับรถลงเขา หรือทางลาดชันยาวๆ การใช้เบรกเพื่อประคองความเร็วเพียงอย่างเดียว อาจเสี่ยงต่ออาการผ้าเบรกร้อนจัดจนละลาย และขาดความฝืด เบรกแตกจนควบคุมรถไม่อยู่และเกิดอุบัติเหตุได้ ห้าม “แช่เบรก” ตลอดเวลา

เทคนิคการเบรกขณะลงเขาคือ

  1. ใช้เกียร์ต่ำสุดที่ทำได้

– รถเกียร์อัตโนมัติ ใช้ตำแหน่งเกียร์ D2, D1, S, L  

– รถเกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ต่ำ เช่น เกียร์ 1, เกียร์ 2  

– รถเกียร์ CVT ใช้ตำแหน่งเกียร์ S, B

– รถไฮบริดใช้ตำแหน่งเกียร์ B

เพื่อช่วยชะลอรถหรือที่เรียก Engine Brake ลดการทำงานของเบรกลงไม่ให้ร้อนเกินไป

เน้นให้เครื่องยนต์ช่วยเบรกเป็นหลัก แต่ต้องไม่ให้รอบเครื่องยนต์ถึงแถบแดง

“ห้าม” ใส่เกียร์ว่าง (เกียร์N) เป็นอันขาด เพราะรถจะไหลลงเขาด้วยความเร็วสูง เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ ให้แตะเบาๆเป็นจังหวะ อย่าเหยียบเบรกค้างไว้ แต่ให้ปรับตำแหน่งเกียร์ตามความชันแทน รักษาระดับความเร็วให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้

     2. เบรกแรงตั้งแต่แรก

หารใช้เกียร์ต่ำแล้วรถยังไหลเร็ว ให้เหยียบเบรกให้แรงพอตั้งแต่แรกจนความเร็วลดลง แล้วจึงปล่อยเบรกให้รถเพิ่มความเร็วสลับไปเรื่อยๆ

     3. เพิ่มโหลดให้เครื่องยนต์

สามารถเพิ่มโหลดเครื่องยนต์ด้วยการใช้คอมเพรสเซอร์ “แอร์” และอัลเทอร์เนเตอร์ช่วยเบรกได้ ด้วยการเปิดแอร์ และปรับค่าอุณหภูมิให้เย็นที่สุด เปิดกระจกหน้าต่างทุกบาน และเปิดไฟหน้า ทำแบบนี้รถจะแล่นช้าลงจนรู้สึกได้