เคล็ดลับยานยนต์ คลิปวิดีโอ รีวิวรถโตโยต้า ข่าวอัพเดทโตโยต้า เทคนิคยานยนต์ ประกันภัยรถยนต์ และ รอบรู้เรื่องรถอื่นๆ รวมถึงโปรโมชั่นรถใหม่ป้ายแดง

สิ่งต้องห้าม ถ้าไม่อยากให้แอร์รถพัง

ห้ามทำสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่อยากให้แอร์รถพัง

ด้วยสภาพอากาศของบ้านเรา ส่วนมากก็คือร้อนกับร้อนมากแอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตประจำวันและแอร์รถจึงสำคัญมากในทุกการเดินทาง แล้วถ้าแอร์เสียหรือมีปัญหาก็คงส่งผลทั้งร่างกายจิตใจคงทำให้หงุดหงิดอยู่ไม่น้อยจากความร้อน รวมไปถึงการเสียเวลาเสียเงินในการซ่อมอีกด้วย

แอร์รถยนต์

ถ้าไม่อยากให้แอร์พังอย่าทำสิ่งนี้

1.อย่าละเลยการล้างแอร์ ปัจจุบันการล้างแอร์รถยนต์ทำได้ทั้งแบบถอดตู้แอร์ ซึ่งเป็นวิธีแบบเดิมที่ทำมายาวนาน และแบบไม่ถอดตู้แอร์โดยการส่องกล้องและใช้หัวฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อทำความสะอาดแผงคอยล์เย็นภายในตู้แอร์

2.อย่าละเลยการเปลี่ยนไส้กรองแอร์ ซึ่งควรเปลี่ยนทุก 6 เดือน หรือทุก10,000-30,000 กิโลเมตร เพราะไส้กรองแอร์เป็นที่ดักจับฝุ่นและเป็นที่เก็บสะสมกลิ่นภายในรถ ถ้าไม่เปลี่ยนจะทำให้แผงแอร์สกปรกอุดตันและเกิดกลิ่นอับได้ง่าย

3.อย่านำการบูรหรือสารระเหยทิ้งไว้ในรถ เพราะจะเป็นตัวจับฝุ่น และความชื้น จะส่งผลให้เแอร์มีกลิ่นเหม็นอับและแผงแอร์อุดตันเร็วขึ้น

และยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียชั้นดี จนทำให้เกิดกลิ่นอับภายในรถนั่นเอง

4.อย่าปรับอุณหภูมิเย็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสะสมอยู่ในตู้แอร์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการอุดตันหรือเป็นสนิมได้และยังสิ้นเปลืองน้ำมันอีกด้วย

5.อย่าเปิดหน้าต่างแล้วเปิดแอร์ เพราะจะทำให้อากาศที่ร้อนจากข้างนอกเข้ามาและทำให้แอร์ทำงานหนักเกินไปจนพังได้

ควรดูแลบำรุงรักษาแอร์ตามระยะที่กำหนดหรือตามความเหมาะสมจากการใช้งานเพื่อยืดอายุการใช้งานและการทำงานให้ความเย็นของแอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

รถเสียบนทางด่วน

รถเสียบนทางด่วน ควรทำอย่างไร

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินรถเสียบนทางด่วน ควรทำอย่างไร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันเราจำเป็นต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางเกือบทุกวันหากเกิดเหตุฉุกเฉินบนทางด่วนไม่ว่าจะด้วยกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือ รถเสีย เราควรทำอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุไม่คาดคิดบนทางด่วนอาจทำให้คุณตกใจไม่น้อยและทำอะไรไม่ถูก สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือตั้งสติอย่าตกใจจนเกินไปแล้วปฏิบัติดังนี้
เปิดไฟฉุกเฉิน นำรถเข้าไหล่ทาง
ในกรณีรถยางแตกห้ามเหยียบเบรคให้รถหยุดในครั้งเดียวโดยเด็ดขาด แต่ให้ค่อยๆแตะเบรคและ ปล่อยไหลประคองรถเข้าข้างทางจนจอดสนิท

– โทรขอความช่วยเหลือที่เบอร์ 1543
หลังจากโทรขอความช่วยเหลือที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) เบอร์ 1543 (สามารถโทรได้ตลอด 24 ชั่วโมง) ควรนั่งอยู่ในรถและคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และควรล็อกประตูไว้ด้วย

– วางเครื่องหมายให้เป็นจุดสังเกต
เพื่อเป็นสัญลักษ์ให้รถคันหลังที่ตามมาทราบจะได้ระวังไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ หากมีกรวยสีส้ม หรือป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง ให้วางไว้ด้านท้ายและด้านหน้าของรถ โดยเว้นระยะห่าง จากรถอย่างน้อย 30-50 เมตร

-เบอร์ที่ควรรู้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินบนทางด่วน
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543

ทางหลวงและมอเตอร์เวย์ โทร.1586

โทลล์เวย์ โทร. 1233

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

โทรฉุกเฉิน

ในกรณีที่โทรศัพท์มือถือเสียหายใช้งานไม่ได้ บนทางด่วนจะมีโทรศัพท์ฉุกเฉินตั้งอยู่ทุกๆ 500–1,000 เมตร
ขอความช่วยเหลือโดยแจ้งสาเหตุ อาการของรถหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงจุดที่นำรถเข้าจอดอย่างละเอียด รวมทั้งหากมีคนป่วยหรือบาดเจ็บ(ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ)ควรแจ้งด้วย และหากต้องการรถลากควรเเจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย

กุญแจรีโมทรถยนต์

เมื่อกุญแจรีโมทรถไม่ทำงาน แก้ปัญหาได้อย่างไร

เมื่อรีโมทรถไม่ทำงาน แก้ปัญหาได้อย่างไร

รถยนต์รุ่นใหม่ๆในปัจจุบันเกือบทั้งหมดหันมาใช้กุญแจรีโมท เพื่อความสะดวกสบายและปลอดภัย  รวมถึงมีฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่หากกุญแจรีโมทเกิดปัญหา หรือ มีปัญหาในการใช้งานจะทำอย่างไร

กุญแจรีโมท

สาหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับกุญแจรีโมท และ วิธีแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

1.รีโมทกดไม่ติด ไม่มีสัญญาณตอบรับ
หากรีโมทเกิดใช้งานไม่ได้ กดไม่ติดไม่มีเสียงหรือไม่มีสัญญาณไฟ อาจเกิดจากแบตเตอรี่อ่อนหรือแบตหมดให้ตรวจเช็คแบตเตอรี่ก่อน แก้ไขเบื้องต้นโดยการจั๊มป์แบตเตอรี่กับรถคันอื่น

2. กดรีโมทมีเสียงสัญญาณดัง แต่ไฟเลี้ยวไม่กระพริบ
หากกดรีโมทแล้วมีเสียงสัญญาณปกติแต่ไฟเลี้ยวไม่กระพริบและสตาร์ทรถไม่ได้ อาจเกิดจากถ่านรีโมทหมด แก้ด้วยการเปลี่ยนถ่านรีโมท บิดกุญแจไปที่สวิตช์ ON และกดรีเซ็ตค้างไว้ จนสัญญาณกันขโมยหยุดร้อง

3. กดรีโมทแล้วไฟเลี้ยวกระพริบ แต่สตาร์ทรถไม่ติด
สาเหตุนี้อาจเกิดจากเครื่องยนต์มีปัญหา แก้ไขด้วยการนำรถเข้าเช็กเครื่องยนต์ใหม่ก่อนสตาร์ทอีกครั้ง

4.กดรีโมทแล้วไฟเลี้ยวกระพริบแต่ประตูไม่ปลดล็อก
สาเหตุนี้ อาจเกิดจากมอเตอร์ที่ควบคุมการเปิด ปิดประตูมีปัญหา แนะนำให้นำรถเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการโดยตรง

5. กดรีโมทล็อกรถแล้วสัญญาณกันขโมยยังดังอยู่
อาจเกิดจากปิดประตูไม่สนิท แก้ไขง่ายๆด้วยการตรวจดูประตูทุกบานและปิดให้สนิท ก่อนกดล็อกด้วยรีโมท

สิ่งที่ทำให้กุญแจรีโมททำงานผิดปกติหรือมีปัญหา ส่วนมากมี 2 สาเหตุหลัก ๆ คือเกิดจากตัวเครื่องยนต์หรือเกิดจากตัวรีโมทรถ หากเกิดปัญหาจึงต้องเช็กทั้งที่ตัวเครื่องยนต์ และตรวจสอบดูว่ารีโมทรถถ่านหมดหรือเกิดขัดข้องหรือไม่

โช้คอัพรถยนต์

อาการบ่งบอกโช้คอัพเริ่มมีปัญหา

อาการที่บ่งบอกว่าโช้คอัพเริ่มมีปัญหามีอะไรบ้าง

โช้คอัพ

“โช้คอัพ” อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยรองรับแรงกระแทก มีหน้าที่ช่วยควบคุมการดีดตัวของสปริง-แหนบ ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ที่ต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

  1. มีคราบน้ำมันบริเวณซีลโช้ค
    ใช้กระดาษทิชชู่มาลองเช็ดดู หากมีคราบน้ำมันก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าซีลโช้คอาจรั่วอยู่

    2. หากลองกดหน้ารถให้ยุบตัว ให้สังเกตว่าตัวรถเด้งๆขึ้นลงเร็วๆติดกันหรือไม่ หากรถมีอาการเด้งขึ้นลงติดๆกันแสดงว่าโช้คเสื่อมสภาพแล้ว

    3. ถ้ารูปทรงของโช้คผิดไปจากเดิมหรือเรียกว่า โช้คคด
    จะทำตัวโช้คทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพซึ่งส่งผลในการขับขี่

    4. สังเกตเวลาขับรถเข้าโค้งหรือขึ้นลูกระนาด
    หากรถมีอาการโยนหรือเหวี่ยงมากแสดงว่าโช้คไม่มีการซับแรงที่ดีแล้

    5. เมื่อรถผ่านทางขรุขระหรือตกหลุม
    สังเกตโดยการฟังเสียงจากโช้ค หากโช้คไม่มีการซับแรงที่ดีจะมีเสียงกระแทกดังมากบางทีอาจรับรู้ได้จากแรงสะท้านบนพวงมาลัยเลย

    ***อย่าลืมไปเช็กโช้คอัพของรถที่รักกันนะคะ โช้คอัพเมื่อใช้งานไปนานๆย่อมเสื่อมสภาพ เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงกระแทกและน้ำหนักตลอดเวลา

 

รถเร่งไม่ขึ้นเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่เหยียบคันเร่งแล้วรถไม่พุ่ง เร่งไม่ขึ้นเพราะอะไร

อาการเครื่องอืด ออกตัวไม่แรง เหยียบคันเร่งไม่ขึ้น  อาการแบบนี้อาจบอกได้ว่าภายในเครื่องยนต์ผิดปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุเป็นเพราะการละเลยไม่ดูแลเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

รถเร่งไม่ขึ้น

สาเหตุที่เหยียบคันเร่งไม่ขึ้น เกิดจาก

  1. กรองอากาศ
    กรองอากาศสกปรกอุดตัน ทำให้เครื่องยนต์ดูดอากาศไม่เต็มที่ นอกจากอัตราเร่งตกแล้ว ยังสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงอีกด้วย จึงควรเปลี่ยนกรองอากาศทุก ๆ ระยะทาง 20,000 หรือ ระยะเวลา ไม่เกิน 12 เดือน

    2. หัวเทียน
    หน้าที่ของหัวเทียน คือ จุดระเบิดเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง หากหัวเทียนสึกหรอหรือมีปัญหาก็ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รถเหยียบเร่งไม่ขึ้น ทั้งยังทำให้รถกินน้ำมันอีกต่างหาก

    3. คอยล์จุดระเบิด
    คอยล์จะเป็นตัวกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงส่งไปยังหัวเทียน เพื่อใช้ในการเผาไหม้เชื้อเพลิง เมื่อไรที่คอยล์เสื่อมก็ทำให้ผลิตแรงดันไฟไม่เพียงพอในการทำงาน

    4. กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
    เมื่อไรที่กรองน้ำมันมีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน ก็ทำให้เกิดอาการสะดุด เครื่องเดินไม่นิ่ง เหยียบคันเร่งไม่ขึ้น ควรเปลี่ยนทุก ๆ ระยะ 40,000 กิโลเมตร

    5. น้ำมันเครื่อง
    หากไม่เปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้น้ำมันเครื่องมีสิ่งสกปรก ส่งผลทำให้รถอืดและเกิดการสึกหรอสูงขึ้น ควรเปลี่ยนทุก ๆ ระยะ 10,000 กิโลเมตร หรือ ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

    ***เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อน ๆ ควรหมั่นตรวจเช็กเครื่องยนต์ และนำรถเข้าเช็กตามระยะอย่างสม่ำเสมอนะคะ***